หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดลองผลิตเส้นด้ายต้นแบบ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-5-008ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดลองผลิตเส้นด้ายต้นแบบ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 2163  นักออกแบบสิ่งทอ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทดลองผลิตเส้นด้ายต้นแบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการวิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ การเลือกใช้กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ และทักษะในการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพออกแบบวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010801 วิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบให้ตรงตามคุณลักษณะเส้นด้ายที่ต้องการ 1 ระบุรายละเอียดและข้อกำหนดของคุณลักษณะเส้นด้าย 1010801.01 72199
1010801 วิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบให้ตรงตามคุณลักษณะเส้นด้ายที่ต้องการ 2 ลำดับขั้นตอนกระบวนการผลิตให้ตรงตามคุณลักษณะของเส้นด้าย 1010801.02 72200
1010801 วิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบให้ตรงตามคุณลักษณะเส้นด้ายที่ต้องการ 3 จัดทำเอกสารพร้อมแบบเพื่อส่งต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 1010801.03 72201
1010802 เลือกใช้กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 1 รู้ข้อกำหนดงานออกแบบ 1010802.01 72202
1010802 เลือกใช้กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 2 ออกแบบเส้นด้าย 1010802.02 72203
1010802 เลือกใช้กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 3 ทดลองผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 1010802.03 72204
1010803 ผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 1. ระบุวัตถุดิบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 1010803.01 72205
1010803 ผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 2. ระบุขั้นตอนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 1010803.02 72206
1010803 ผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 3. สรุปผลการทดลองผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 1010803.03 72207

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ปฏิบัติการออกแบบเส้นด้ายตรงตามคุณลักษณะเส้นด้ายที่ต้องการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) ลักษณะของเส้นด้าย

(2) องค์ประกอบและหลักการของการทดสอบ

(3) ข้อกำหนดด้านการออกแบบเส้นด้าย

- งบประมาณ

- ประเภทของอุตสาหกรรมและมาตรฐานอุตสาหกรรม

- สไตล์ ()

- สี

- ประโยชน์ใช้สอย

- ประสิทธิภาพการทำงาน

- คุณภาพ

- มิติ

- กำหนดเวลาของการส่งงาน

- ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขต่างๆในการออกแบบ

(4) ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการออกแบบ:

- แนวโน้มสี

- แนวโน้มแฟชั่น

- แนวโน้มวัสดุ

- เส้นด้าย

- ประเด็นปัญหาการผลิต

- ความพร้อมใช้งานของทรัพยากร หรือข้อจำกัด

(5) ต้นทุนการผลิต

(6) วัสดุและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

(7) มาตรฐานสำหรับข้อกำหนด

(8) ข้อมูลจำเพาะของเส้นด้าย:

- ทิศทางเกลียว

- จำนวนเกลียวต่อนิ้วหรือเมตร

- ขนาดหรือเบอร์ด้าย

- ส่วนผสมของเส้นใย ด้ายเดี่ยว ด้ายควบ(ply)

(9) อุปกรณ์ทดสอบ:

- กล้องจุลทรรศน์

- เครื่องชั่งน้ำหนัก

- ตัวควบคุม

- แม่แบบ

- เครื่องทดสอบความแข็งแรง

- เครื่องปรับอากาศ

- เครื่องอบแห้ง

- เครื่องทดสอบการขัดถู

- ตัวทดสอบการ pilling

(10) การทดสอบประสิทธิภาพของผ้า

(11) ขั้นตอนการทำงาน

(12) การบันทึกและการรายงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการวิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบให้ตรงตามคุณลักษณะเส้นด้ายที่ต้องการ รวมถึงการเลือกใช้กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ และการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการวิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบให้ตรงตามคุณลักษณะเส้นด้ายที่ต้องการ เลือกใช้กระบวนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ และผลิตเส้นด้ายต้นแบบ

     (ก) คำแนะนำ

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติเส้นด้ายและขั้นตอนการผลิตเส้นด้ายเพื่อวิเคราะห์และกำหนดขั้นตอนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ ตามข้อมูลการออกแบบ และทำการทดสอบเส้นด้ายต้นแบบที่ทดลองผลิตขึ้น

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ลักษณะของเส้นด้าย แบ่งตามระบบการผลิต ได้เป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย เส้นด้ายที่ผลิตด้วยการนำเส้นใยมาปั่นเป็นเส้นด้าย เรียก Spun Yarn และ เส้นด้ายที่ผลิตออกมาเป็นเส้นยาวต่อเนื่อง เรียก Filament Yarn

          2. ข้อกำหนดด้านการออกแบบเส้นด้าย คือข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบเส้นด้าย อาทิเช่น ข้อมูลความต้องการของลูกค้า  ข้อมูลวัตถุดิบ  ข้อมูลการนำไปใช้ เป็นต้น

          3. เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ อาทิเช่น เครื่อง Spinning Lab ที่ใช้ในการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์

18.3 แบบฟอร์มการประเมินผลแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ