หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์แนวโน้มการออกแบบผ้าถัก

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-4-017ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์แนวโน้มการออกแบบผ้าถัก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 2163 นักออกแบบสิ่งทอ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์แนวโน้มการออกแบบผ้าถัก โดยการวิเคราะห์อิทธิพลที่สำคัญของการออกแบบผ้าถัก รวมถึงการวิเคราะห์คุณภาพของกระบวนการออกแบบผ้าถัก การกำหนดสีผ้าถักเพื่อการออกแบบ และการสรุปทิศทางผ้าถักในอนาคต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพออกแบบวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1011701 วิเคราะห์อิทธิพลที่สำคัญของการออกแบบผ้าถัก 1 ระบุเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบผ้าถักและวิเคราะห์ผลกระทบ 1011701.01 72270
1011701 วิเคราะห์อิทธิพลที่สำคัญของการออกแบบผ้าถัก 2 กำหนดอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีนัยสำคัญต่อการพัฒนาการออกแบบผ้าถักและวิเคราะห์ผลกระทบ 1011701.02 72271
1011701 วิเคราะห์อิทธิพลที่สำคัญของการออกแบบผ้าถัก 3 ระบุอิทธิพลร่วมสมัยในการออกแบบผ้าถัก 1011701.03 72272
1011701 วิเคราะห์อิทธิพลที่สำคัญของการออกแบบผ้าถัก 4 ระบุผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ต่อการออกแบบผ้าถัก 1011701.04 72273
1011702 วิเคราะห์คุณภาพของกระบวนการออกแบบผ้าถัก 1 ระบุองค์ประกอบของการออกแบบผ้าถัก 1011702.01 72274
1011702 วิเคราะห์คุณภาพของกระบวนการออกแบบผ้าถัก 2 ระบุหลักการออกแบบเส้นด้าย 1011702.02 72275
1011702 วิเคราะห์คุณภาพของกระบวนการออกแบบผ้าถัก 3 ระบุข้อพิจารณาเชิงพาณิชย์ในการออกแบบผ้าถัก 1011702.03 72276
1011703 กำหนดสีผ้าถักเพื่อการออกแบบ 1 จัดทำวงล้อสี 1011703.01 72277
1011703 กำหนดสีผ้าถักเพื่อการออกแบบ 2 เลือกสีที่ต้องการ 1011703.02 72278
1011703 กำหนดสีผ้าถักเพื่อการออกแบบ 3 จัดทำตารางสี 1011703.03 72279
1011703 กำหนดสีผ้าถักเพื่อการออกแบบ 4 ใช้ทฤษฎีการจับคู่สีเพื่อการผลิต 1011703.04 72280
1011704 สรุปทิศทางผ้าถักในอนาคต 1 ระบุผ้าถักที่เกิดขึ้นใหม่ 1011704.01 72281
1011704 สรุปทิศทางผ้าถักในอนาคต 2 ระบุคุณสมบัติและโอกาสในการนำไปใช้ 1011704.02 72282
1011704 สรุปทิศทางผ้าถักในอนาคต 3 ระบุแนวโน้มการใช้ผ้าถักเพื่อบอกการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ในการผลิต 1011704.03 72283

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. จัดทำวงล้อสี

2. จัดทำ Mood Board

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1) รู้ผลกระทบของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและอิทธิพลร่วมสมัย

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เช่น:

- สงคราม

- การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

- การพัฒนาเทคโนโลยี (เช่นการปฏิวัติอุตสาหกรรม)

- การเปลี่ยนแปลงในระดับโลก การผลิต การออกแบบ และการค้า

อิทธิพลทางวัฒนธรรม เช่น :

- การทอผ้าของช่างทอผ้าพื้นบ้านของไทย

- ผ้าพื้นบ้านของไทย

- สิ่งทอแอฟริกัน

- สิ่งทออินโดนีเซีย (เช่น ผ้าติก ผ้ามัดย้อม)

- พรมจากสแกนดิเนเวีย (Scandinavia)

- สิ่งทอในยุคกลาง

- สิ่งทออินเดีย (เช่นผ้าพิมพ์บล็อกไม้และผ้ามัดย้อม)

อิทธิพลสิ่งทอร่วมสมัย เช่น :

- การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่

- การคิดค้น งานออกแบบและผลิตภัณฑ์ใหม่

- การเคลื่อนไหวของศิลปะร่วมสมัย

- แนวโน้มแฟชั่น

- อิทธิพลส่วนบุคคล เช่น การพัฒนาอาชีพ

- ปริมาณการเสนอขายวัตถุดิบ ปริมาณวัตถุดิบในตลาด

- ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

- ลักษณะภูมิอากาศ

- รูปแบบแนวโน้มของสิ่งทอที่แตกต่างกัน

- การนำกลับมาใช้ซ้ำและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คุณลักษณะที่แสดงในสิ่งทอเช่น :

- เพศ

- ชาติพันธุ์

- ศาสนา

- สถานะทางสังคม

- ความสำเร็จส่วนบุคคล

- วงศ์ตระกูล

กระบวนการผลิตสิ่งทอและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

องค์ประกอบการออกแบบ :

- จุด

- เส้น

- รูปร่างและรูปทรง

- สี

- ลักษณะพื้นผิว

- รูปทรง

- น้ำหนักอ่อนแก่ของแสงและเงา

หลักการออกแบบ

- การซ้ำ

- ลวดลาย

- การไล่ระดับสี

- จังหวะ

- ความกลมกลืน

- ความขัดแย้ง

- ดุลยภาพ

- ที่ว่าง

- เอกภาพ

- สัดส่วน

แหล่งที่มาของข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

โครงสร้างวัสดุสิ่งทอและเทคนิคการผลิต

ลักษณะของสี

แนวโน้มการออกแบบสิ่งทอ

เทคนิคการค้นคว้า

- ห้องสมุด

- อินเตอร์เน็ต

- บทความและวารสาร

- หนังสือ

- คู่มืออ้างอิง

- รายการโทรทัศน์

- สารคดี

- พิพิธภัณฑ์

- แกลเลอรี่

- สตูดิโอ

- ผู้ผลิตงานวัสดุสิ่งทอ

- ผู้จัดจำหน่ายเส้นด้าย

- สื่อนำเสนอที่เหมาะสม

 เครื่องมือสื่อสาร:

- Mood board

- Story board

- งานนำเสนอส่วนบุคคล

- การสาธิต

- หุ่นจำลอง

- ตัวอย่าง

- เครื่องมือมัลติมีเดีย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการวิเคราะห์อิทธิพลที่สำคัญของการออกแบบผ้าถัก รวมถึงการวิเคราะห์คุณภาพของกระบวนการออกแบบผ้าถัก การกำหนดสีผ้าถักเพื่อการออกแบบ และการสรุปทิศทางผ้าถักในอนาคต

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการวิเคราะห์อิทธิพลที่สำคัญของการออกแบบผ้าถัก วิเคราะห์คุณภาพของกระบวนการออกแบบผ้าถัก เพื่อ การกำหนดสีผ้าถักเพื่อการออกแบบและสรุปทิศทางผ้าถักในอนาคต

     (ก) คำแนะนำ

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสี  องค์ประกอบศิลป์ อิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผ้าถัก เพื่อการกำหนดสีผ้าถักเพื่อการออกแบบและสรุปทิศทางผ้าถักในอนาคต

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. อิทธิพลที่สำคัญของการออกแบบผ้าถัก คือ เหตุการณ์ กระแสนิยม แนวโน้ม ที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อข้อมูลการออกแบบผ้าถัก อาทิเช่น แนวโน้มสีโลก แนวโน้มวัตถุดิบสิ่งทอโลก เป็นต้น

2. วงล้อสี หมายถึง วงจรสีที่แสดงแม่สีหลักและสีที่เกิดจากการผสมสี ประกอบด้วย ทฤษฎีการผสมสีแบบลบ และทฤษฎีการผสมสีแบบบวก

3. ตารางสีในที่นี้ หมายถึง การนำเสนอสีอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสื่อถึงความหมายของ แนวคิดการออกแบบ โดยการรวบรวมสีที่อยู่ในข่ายของการสื่อสารถึง รูปลักษณ์ที่เป็นที่มาของ แนวความคิดการออกแบบนั้น ๆ

4. Mood Board หมายถึง การจัดเรียงภาพวัตถุดิบข้อความเพื่อแสดงแนวคิดการออกแบบ

5. องค์ประกอบของศิลปะ มีหลักที่ควรคำนึง อยู่ 6 ประการ คือ

- จุด (Dot) คือ ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ

- เส้น (Line) คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง

- รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form) รูปร่าง คือ พื้นที่ ๆ ล้อมรอบด้วยเส้นที่แสดงความกว้าง และความยาว รูปร่างจึงมีสองมิติ รูปทรง คือ ภาพสามมิติที่ต่อเนื่องจากรูปร่าง โดยมีความหนา หรือความลึก ทำให้ภาพที่เห็นมี ความชัดเจน และสมบูรณ์

- ผิวสัมผัส (Texture) ผิวสัมผัสเป็นบริเวณผิวนอกของวัตถุ ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ทั้งการรับสัมผัสทางตาและกายสัมผัส

- ที่ว่าง (Space) หมายถึงระยะ หรือพื้นที่ที่อยู่ระหว่าง หรืออยู่ล้อมรอบส่วนที่เป็นรูปร่าง รูปทรง ทั้งในแนวราบ และแนวลึกของภาพ

- สี (Colour) หมายถึง องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของงานศิลปะ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ (Colour Theory)

คำจำกัดความของสี

1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้

2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน

3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี



คุณลักษณะของสี

1. สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน

2. สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู

3. สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล

สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ ตลอดจนสีของ ดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล

2. สีที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือได้สังเคราะห์ขึ้น เช่น สีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่างๆ เช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแสงประสานแม่สี (Primaries)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ