หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์สมบัติของวัสดุสิ่งทอ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-4-002ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์สมบัติของวัสดุสิ่งทอ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 2163 นักออกแบบสิ่งทอ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์สมบัติของวัสดุสิ่งทอ ซึ่งจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการแยกสมบัติทางกายภาพ รวมถึงการแยกสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอ และสรุปสมบัติของวัสดุสิ่งทอเพื่อการออกแบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพออกแบบวัสดุสิ่งทอ2163 นักออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องแต่งกาย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010201 แยกสมบัติทางกายภาพของวัสดุสิ่งทอ 1. เลือกใช้วัสดุสิ่งทอโดยการเลือกข้อมูลจำเพาะทางกายภาพแผ่นงาน เอกสารประกอบการใช้งาน 1010201.01 72149
1010201 แยกสมบัติทางกายภาพของวัสดุสิ่งทอ 2. ขอคำแนะนำจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อระบุวัสดุสิ่งทอที่ไม่รู้จัก 1010201.02 72150
1010201 แยกสมบัติทางกายภาพของวัสดุสิ่งทอ 3. เลือกสมบัติทางกายภาพของวัสดุสิ่งทอด้วยการใช้ข้อมูลจำเพาะของผลิตภัณฑ์แผ่นงาน เอกสารประกอบและเทคนิคการวิจัย 1010201.03 72151
1010202 แยกสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอ 1 เลือกใช้วัสดุสิ่งทอโดยการเลือกข้อมูลจำเพาะทางเคมีแผ่นงาน เอกสารประกอบการใช้งาน 1010202.01 72152
1010202 แยกสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอ 2 ระบุสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอด้วยการใช้ข้อมูลจำเพาะของผลิตภัณฑ์แผ่นงาน เอกสารประกอบ และเทคนิคการวิจัย 1010202.02 72153
1010202 แยกสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอ 3 ทดสอบมาตรฐานวัสดุสิ่งทอเพื่อตรวจสอบสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ 1010202.03 72154
1010203 สรุปสมบัติของวัสดุสิ่งทอเพื่อการออกแบบ 1 ระบุผลกระทบจากกระบวนการผลิตตกแต่ง ของวัสดุสิ่งทอ 1010203.01 72155
1010203 สรุปสมบัติของวัสดุสิ่งทอเพื่อการออกแบบ 2 กำหนดลักษณะการทำงาน ผลกระทบของการตกแต่งกระบวนการผลิตวัสดุสิ่งทอ 1010203.02 72156
1010203 สรุปสมบัติของวัสดุสิ่งทอเพื่อการออกแบบ 3 ทดสอบมาตรฐานวัสดุสิ่งทอเพื่อตรวจสอบสมบัติทางกายภาพเคมีของวัสดุสิ่งทอในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ 1010203.03 72157

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานในห้องทดลอง

2. บันทึกผลการทดลอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้ชนิดของเส้นใย เส้นด้าย ผ้าทอ และการดูแล

2. รู้สมรรถนะของผ้า

3. รู้ประเภทของการทดสอบประสิทธิภาพผ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานการแยกสมบัติทางกายภาพของวัสดุสิ่งทอ รวมถึงแยกสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอ และสรุปสมบัติของวัสดุสิ่งทอ เพื่องานวืเคราะห์สมบัติของวัสดุสิ่งทอ

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการแยกสมบัติทางกายภาพของวัสดุสิ่งทอ แยกสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอ และสรุปสมบัติทางเคมีของวัสดุสิ่งทอ เพื่อการออกแบบสิ่งทอ

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุสิ่งทอ

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับการสรุปสมบัติของเส้นด้ายเพื่อใช้ในการออกแบบเส้นด้าย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. วัสดุสิ่งทอ หมายถึง เส้นใย เส้นด้าย ผ้า

2. สมบัติทางกายภาพ

- ความยาวเส้นใย

- ความละเอียดเส้นใย

- ความหยักบนเส้นใย

- ความแข็งแรงของเส้นใย

- ความสามารถในการปั่นเป็นเส้นใย

- ความสม่ำเสมอ

- ความสามารถในการดัดงอ

- ความหนาแน่น

- ความมัน

- ความสามารถในการดูดซับความชื้น

- ความสามารถในการดัดงอ

- ความหนาแน่น

- ความมัน

- ความสามารถในการดูดซับความชื้น

- สภาพยืดหยุ่น

- การยืดตัว

- การคืนตัวจากแรงอัดและความสามารถในการรับแรงอัด

- ความทนทานต่อการขัดถู

- การนำไฟฟ้า การนำความร้อน

- ความทนทานต่อความร้อน

3. สมบัติทางเคมี

- ความทนต่อกรด-ด่าง

- ความทนต่อตัวทำละลายอินทรีย์

- ความทนต่อสารฟอกขาว

- ความทนต่อแสงแดด

    4. กระบวนการผลิตวัสดุสิ่งทอ

- กระบวนการผลิตเส้นใย

- กระบวนการผลิตเส้นด้าย

- กระบวนการผลิตผ้าทอ

- กระบวนการผลิตผ้าถัก

- กระบวนการเตรียมผ้า

- กระบวนการย้อมพิมพ์

- กระบวนการตกแต่งสำเร็จ

- กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

2. ประเภทของเส้นใย

2.1 เส้นใยธรรมชาติ (Natural fibres)

เส้นใยพืช เช่น ฝ้าย ลินิน ปอ รามี ป่าน นุ่น

เส้นใยสัตว์ เช่น ขนสัตว์ (wool) ไหม (silk) ผม (hair)

แร่ เช่น แร่ใยหิน (asbestos)

2.2 เส้นใยประดิษฐ์ (Man-made fibres)

ประดิษฐ์จากธรรมชาติ เช่น เรยอน อะซิเทต ไตรอะซีเทต

เส้นใยสังเคราะห์ เช่น โอเลฟินส์ โพลีเอสเทอร์ โพลีอรามิด ไนลอน

แร่และเหล็ก เช่น โลหะ แก้ว เซรามิก กราไฟต์

3. สมบัติของเส้นใย

สมบัติของเส้นใยมีผลโดยตรงต่อสมบัติของผ้าที่ทำขึ้นจากเส้นใยนั้นๆ อาทิเช่น สมบัติของผ้าที่ใช้ เส้นใยฝ้าย เป็นวัตถุดิบเส้นด้าย จะได้ผ้าที่มีสมบัติของความแข็งแรงที่ดี ยับง่าย และทนทาน เป็นต้น

4. โครงสร้างทางกายภาพของเส้นใย

4.1 โครงสร้างทางกายภาพหรือโครงสร้างทางสัณฐาน (morphology) ของเส้นใย โครงสร้างทางกายภาพนั้นครอบคลุมถึง ความยาว ขนาดหรือเส้นผ่าศูนย์กลาง รูปร่างภาคตัดขวาง (cross-sectional shape) รูปร่างของผิวเส้นใย และความหยักของเส้นใย

4.2 เส้นใยสั้น (Staple fibre) เป็นเส้นใยที่มีความยาวอยู่ในช่วง 2 ถึง 46 เซนติเมตร

4.3 เส้นใยยาว (Filament fibre) เป็นเส้นใยที่มีความยาวต่อเนื่องไม่สิ้นสุด มีหน่วยวัดเป็นเมตรหรือหลา เส้นใยยาวส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ ยกเว้นไหมซึ่งเป็นเส้นใยยาวที่มาจากธรรมชาติ

5. ขนาดของเส้นใย ขนาดของเส้นใยมีผลต่อสมรรถนะการใช้งานและสมบัติทางผิวสัมผัส (hand properties) เส้นใยที่มีขนาดใหญ่จะให้ความรู้สึกที่หยาบและแข็งของเนื้อผ้า แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความแข็งแรงมากกว่าเมื่อเทียบกับเส้นใยชนิดเดียวกันที่มีขนาดเล็กกว่า

6. สมบัติของเส้นใยที่มีผลต่อสมบัติผ้า

6.1 สมบัติรูปลักษณ์ (Aesthetic properties)

- สมบัติความเป็นมันวาว (Luster)

-การทิ้งตัวของผ้า (Drape)

-เนื้อผ้า (Texture)

-สมบัติต่อผิวสัมผัส (Hand)

6.2 สมบัติความทนทาน

-สมบัติการทนต่อแรงเสียดสี

-สมบัติความทนต่อแรงดึง

6.3 สมบัติความใส่สบาย (Comfort properties)

-สมบัติการดูดซับน้ำ (Absorbency)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ