หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบความต้องการของลูกค้า

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-4-001ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบความต้องการของลูกค้า

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 2163 นักออกแบบสิ่งทอ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถตรวจสอบความต้องการของลูกค้า เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อการออกแบบงานสิ่งทอ ได้ตรงความต้องการของลูกค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพออกแบบวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010101 เตรียมข้อมูลความต้องการของลูกค้า 1. สำรวจความต้องการของลูกค้า 1010101.01 72143
1010101 เตรียมข้อมูลความต้องการของลูกค้า 2. ระบุสิ่งที่ลูกค้าต้องการ 1010101.02 72144
1010101 เตรียมข้อมูลความต้องการของลูกค้า 3. รายงานความต้องการของลูกค้า 1010101.03 72145
1010102 สรุปผลความต้องการของลูกค้า 1. ระบุข้อมูลที่มีความถูกต้อง 1010102.01 72146
1010102 สรุปผลความต้องการของลูกค้า 2. ตรวจสอบว่าการตอบสนอง ตรงกับความต้องการของลูกค้า 1010102.02 72147
1010102 สรุปผลความต้องการของลูกค้า 3. บันทึกรายละเอียดของคำขอและการตอบสนอง 1010102.03 72148

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการสื่อสารและสำรวจข้อมูลกับลูกค้า

2. สามารถวิเคราะห์ผลจากคำตอบที่ได้จากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม

3. สามารถสรุปข้อมูลเพื่อใช้รายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การตลาดผลิตภัณฑ์สิ่งทอ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมข้อมูลความต้องการของลูกค้า และการสรุปผลความต้องการของลูกค้า

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการเตรียมข้อมูลความต้องการของลูกค้า และสรุปผลความต้องการของลูกค้า

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเตรียมข้อมูลความต้องการของลูกค้าได้

          2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถสรุปผลความต้องการของลูกค้าได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ความต้องการของลูกค้า แบ่งได้เป็น 2 เรื่อง คือ ความจำเป็นและความคาดหวัง

                    1.1 ความจำเป็น คือ สิ่งที่ลูกค้าจำเป็นต้องได้รับในธุรกิจนั้นๆ

                    1.2 ความคาดหวัง คือ สิ่งที่อยู่ในใจลูกค้า อาทิเช่น ความคาดหวังที่จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม และผลิตสินค้าได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ

          2. ข้อมูลที่มีอยู่ (Existing Data) พิจารณาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ อาทิเช่น ผลจากการสำรวจ การสัมภาษณ์ลูกค้า หรือการเก็บข้อมูลจากฝ่ายบริการลูกค้า แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาความต้องการของลูกค้า

          3. สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder Interviews) อาทิเช่น ฝ่ายขายและฝ่ายบริการลูกค้าเนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีความเข้าใจสินค้าและรู้จักลูกค้าเป็นอย่างดี

          4. แผนผังขั้นตอนการทำงาน (Process Mapping) หมายถึง ขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานของลูกค้า

          5. สัมภาษณ์ลูกค้า (Customer Interviews) อาทิเช่น สอบถามถึงปัญหาที่ลูกค้าพบ และลูกค้าต้องการสินค้า/บริการที่มีคุณลักษณะอย่างไร

          6. การสำรวจความคิดเห็นของลูกค้า (Voice of the Customer Surveys) เป็นการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าโดยใช้ช่องทางอีเมล์หรือเว็บไซต์ขององค์กร โดยจะสอบถามถึงทัศนคติ และความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อสินค้า

          7. วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Analysis) อาทิเช่น การพิจารณาถึงคู่แข่งใน 4 ด้านคือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค โดยกำหนดกลุ่มที่เป็นคู่แข่งทั้งในแนวแคบและแนวกว้างเพื่อให้ครอบคลุมทั้งหมด ทั้งคู่แข่งโดยตรง และคู่แข่งทางอ้อมที่เกี่ยวโยงกับสินค้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ