หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตเส้นด้ายต้นแบบ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-ZZZ-5-057ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตเส้นด้ายต้นแบบ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1223 หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยของความสามารถนี้จะครอบคลุมทักษะและความรู้และเทคนิคที่จำเป็นในการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ ซึ่งจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างเส้นด้ายต้นแบบ และการตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพัฒนาวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030301 สร้างเส้นด้ายต้นแบบ 1. เตรียมผลิตเส้นด้ายต้นแบบตามข้อสรุปแนวคิดการออกแบบเส้นด้าย 1030301.01 72598
1030301 สร้างเส้นด้ายต้นแบบ 2. ตั้งค่าเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ เครื่องมืออุปกรณ์ ตามคู่มือการใช้ 1030301.02 72599
1030301 สร้างเส้นด้ายต้นแบบ 3. ใช้เทคนิคการผลิตเส้นด้ายต้นแบบเพื่อตอบสนองข้อกำหนดสำหรับการผลิตเส้นด้ายต้นแบบให้สอดคล้องกับคู่มือการปฏิบัติการ 1030301.03 72600
1030302 ตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ 1. ผลิตเส้นด้ายต้นแบบได้ตรงตามข้อกำหนดการออกแบบ 1030302.01 72601
1030302 ตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ 2. ระบุความผิดพลาดของการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ 1030302.02 72602
1030302 ตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ 3. กำหนดกระบวนการ เทคนิค และวัสดุที่ใช้ในการผลิตเส้นด้ายต้นแบบเพื่อตรวจสอบการปรับเปลี่ยนที่จำเป็น 1030302.03 72603

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะวิเคราะห์ข้อกำหนดการออกแบบ

2. บันทึกขั้นตอน กระบวนการ และผลที่เกิดขึ้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้วิทยาศาสตร์สิ่งทอ

2. รู้กระบวนการทดสอบเส้นด้าย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานการสร้างเส้นด้ายต้นแบบ และ การตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ

 (ง) วิธีการประเมิน

                    พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการสร้างเส้นด้ายต้นแบบ และ การตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถสร้างเส้นด้ายต้นแบบได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. แนวคิดการออกแบบเส้นด้าย หมายถึง การต่อยอดรูปแบบการคิดในหลากหลายสาขาวิชา ผสมผสานจนเกิดเป็นความคิดชนิดใหม่ นำไปสู่การพัฒนาเส้นด้าย ที่มี “ความพึงพอใจของลูกค้า” เป็นแก่นสำคัญ

                    2. ข้อกำหนดการผลิตเส้นด้าย อาทิเช่น ทิศทางเกลียว จำนวนเกลียว/นิ้ว หรือ เมตร ขนาดหรือเบอร์ด้าย ส่วนผสมของเส้นใย ด้ายเดี่ยว ด้ายควบ ด้ายหวี/ด้ายสาง (combed / carded) เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ