หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมระบบผลิตและจ่ายก๊าซชีวภาพ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GEN-4-050ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมระบบผลิตและจ่ายก๊าซชีวภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ปฏิบัติงานด้านการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการควบคุมระบบผลิตและจ่ายก๊าซชีวภาพ โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดำเนินงานการปรับคุณภาพก๊าซให้ได้มาตรฐานการใช้งาน ดูแลและควบคุมการทำงานของระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ เช่น กำจัดความชื้น และองค์ประกอบที่ไม่ประสงค์ เป็นต้น ระบบจ่ายและอัดแรงดันก๊าซชีวภาพ รวมถึงระบบควบคุมคุณภาพของก๊าซชีวภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานชีวภาพ (พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20302.01 ควบคุมระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ
20302.02 ควบคุมคุณภาพก๊าซชีวภาพ
20302.03 ควบคุมระบบอัดก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง
20302.04 ควบคุมระบบจ่ายก๊าซชีวภาพ

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในคิดวิเคราะห์และการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาเพื่อหาสาเหตุ

  2. มีทักษะในการอ่านและการใช้เอกสารมาตรฐานการควบคุมการทำงานต่าง ๆ ทั้งด้านเทคนิคและความปลอดภัย

  3. มีทักษะในการควบคุมเครื่องจักรเชิงกล และการสังเกตปัญหา

  4. มีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด หรืออุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลแบบต่าง ๆ อย่างถูกต้อง

  5. มีทักษะในการใช้เครื่องมือป้องกันส่วนบุคคล และใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสม

  6. มีทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ด้านทางเคมีและชีวภาพ และทราบองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ และการใช้งาน

  2. มีความรู้ด้านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพเพื่อให้ได้องค์ประกอบก๊าซตามมาตรฐานกำหนด เพื่อนำไปใช้เพื่อผลิตความร้อน ไฟฟ้า หรือเป็นเชื้อเพลิง

  3. มีความรู้เชิงฟิสิกส์ สภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ แรงดัน และการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร

  4. มีความรู้ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ในการควบคุมเครื่องจักรหรือระบบปรับปรุงคุณภาพและอัดแรงดันก๊าซชีวภาพ

  5. มีความรู้ด้านการจัดการลำเลียงและระบบท่อส่ง

  6. มีความรู้เฉพาะทางด้านความเสี่ยงในการปฏิบัติงานในพื้นที่แรงดันสูง และมีโอกาสรั่วไหลของก๊าซเสีย

  7. มีความรู้ด้านโปรแกรมควบคุมระบบแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ

  8. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .docx .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะทาง เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน

  2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบปรับปรุงคุณภาพและจ่ายก๊าซชีวภาพ หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

  3. ผลการสอบข้อเขียน

  4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




คำแนะนำในการประเมิน




  1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมระบบปรับปรุงคุณภาพและจ่ายก๊าซชีวภาพ โดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

  2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง

    •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    •  วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    •  ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง






วิธีการประเมิน




  1. สอบปรนัย

  2. สอบสัมภาษณ์

  3. สอบสถานการณ์จำลอง

  4. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. ระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ หมายถึง ระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพดิบ ให้ได้คุณภาพตามความต้องการใช้งาน ได้แก่

    •  ระบบกำจัดความชื้น

    •  ระบบกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)

    •  ระบบกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

    •  การกำจัดไซลอกเซน (Siloxane)





โดยมีระบบที่ใช้หลายระบบ เช่น เทคโนโลยีเมมเบรน การดูดซึมด้วยการเปลี่ยนแปลงความดัน การแยกทางเคมี หรือ Scrubber เป็นต้น




  1. การใช้งานก๊าซชีวภาพ หมายถึง การนำก๊าซชีวภาพที่มีการปรับปรุงคุณภาพไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ผลิตความร้อน ผลิตไฟฟ้า และใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยมีการปรับปรุงคุณภาพให้ได้สมบัติตามที่จำนำไปใช้งาน

  2. จุดเสี่ยง หมายถึง พื้นที่ หรือบริเวณที่อาจจะเกิดปัญหา หรืออันตราย หรือควรเฝ้าระวัง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

  3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย



ยินดีต้อนรับ