หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-SPS-6-021ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ - /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ในหลักการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10502.01 พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการกีฬา A.เข้าร่วมกิจกรรมการประชุม/อบรมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 10502.01.01 60722
10502.01 พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการกีฬา B.ติดตามข้อมูลข่าวสาร ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและความเป็นไปของวิชาชีพ จากสื่อต่างๆและค้นคว้าเพิ่มเติมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ 10502.01.02 65713
10502.02 พัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกายโดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี(Role model) แก่บุคคลอื่น A.ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ 10502.02.01 60723
10502.02 พัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกายโดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี(Role model) แก่บุคคลอื่น B.ออกกำลังกายตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนาสุขภาพ/สมรรถภาพของร่างกายให้ดี และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น 10502.02.02 65714

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการติดตามข้อมูลข่าวสารความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ใบรับรองการอบรม ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หรือ แฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใบรับรองจากหัวหน้างานหรือผู้เชี่ยวชาญในสายงานที่ปฏิบัติงานอยู่

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลการสังเกตการณ์จากการปฏิบัติงาน

2. ผลการทดสอบความรู้

3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล

2. ประชุมวิชาการ หมายถึง การชุมนุมในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การแก้ประเด็นปัญหาสำคัญ ความห่วงใยหรือ เพื่อความก้าวหน้าร่วมกัน หรือเพื่อทำความตกลงเกี่ยวกับการพิจารณาเลือกกฎระเบียบหรือประเพณีปฏิบัติ (shared rule or custom) ในสาขาวิชาการหรือวิชาชีพที่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

3. อบรม หมายถึง กระบวนการที่จะใช้เสริมความรู้ (Knowledge) ทักษะในการทำงาน (Skill) และความสามารถ (Capacity) ของบุคคลในสั่งคมหนึ่ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ