หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน

สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SEC-PSA-4-004ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO รหัส 1219 ผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 1219 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ครูฝึกงานรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่า จะต้องวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน และนำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้ว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05221 วิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน 1. วิเคราะห์รายละเอียดแต่ละรายวิชาในหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติได้ถูกต้องครบถ้วน 05221.01 58214
05221 วิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน 2. จัดทำรายวิชาใหม่ที่มีการปรับปรุงตามหลักสูตรรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าได้ถูกต้องทันสมัยทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 05221.02 58215
05221 วิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน 3 วิพากษ์หลักสูตรรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้วเพื่อจัดทำหลักสูตรใหม่อย่างถูกต้องครบถ้วน 05221.03 58216
05222 นำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้ว 1. จัดทำรูปเล่มรายละเอียดหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงได้ถูกต้องครบถ้วน 05222.01 58217
05222 นำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้ว 2.นำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาอนุมัติและนำไปใช้ได้ถูกต้องครบถ้วน 05222.02 58218

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่า ความรู้ในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม รายวิชาที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน การฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะด้านการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
- ทักษะการจัดรายวิชาในหลักสูตรการขนส่งทรัพย์สินมีค่า

(ข) ความต้องการด้านความรู้


-  ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
- ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งทรัพย์สินมีค่า
- ความรู้ในสอนวิธีการรับมอบทรัพย์สินมีค่า การขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้อยู่ในสภาพดี
- ความรู้ในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้ถึงปลายทางอย่างปลอดภัย
- ความรู้ในสอนการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบการทำงานของผู้เกี่ยวข้องในการขนส่งทรัพย์สินมีค่า
- ความรู้ในการสอนการบันทึกรายการขนส่งทรัพย์สินมีค่า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- เอกสารเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์การฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย
- หลักสูตรการฝึกอบรมรักษาความปลอดภัย
- เอกสารเกี่ยวกับสื่อการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย
- เอกสารระบุเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการฝึกอบรมตามแบบที่กำหนด
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำหนดกลยุทธ์การฝึกอบรมการขนส่งทรัพย์สินมีค่า
- ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาและขอบเขตการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยทั้งภาคทฤษฏี และ ภาคปฏิบัติ
- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการสร้างและเขียนหลักสูตรฝึกอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบสื่อการฝึกอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการเลือกวัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตสื่อการฝึกอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตสื่อการฝึกอบรม
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบและผลิตสื่อการฝึกอบรม
-  ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. วิเคราะห์รายละเอียดแต่ละรายวิชาในหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
2. จัดทำรายวิชาใหม่ที่มีการปรับปรุงตามหลักสูตรรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินให้ทันสมัยทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
3. จัดทำรูปเล่มรายละเอียดหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินที่ปรับปรุง
4. นำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาอนุมัติและนำไปใช้
(ก) คำแนะนำ
หลักสูตรในการฝึกอบรมต้องสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยการขนส่งทรัพย์สินมีค่าและมีขอบเขตการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยทั้งภาคทฤษฏีและ ภาคปฏิบัติ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
  N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
18.2 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ