หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญในสถานการณ์ปกติ

สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SEC-VGS-2-006ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญในสถานการณ์ปกติ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO รหัส 5414 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.)
ISCO รหัส 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าคุมงานรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ในการดำเนินงานอารักขาบุคคลสำคัญตามแผนงานจะต้อง ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ และปฏิบัติการอารักขาบุคคลสำคัญ แจ้งสถานการณ์ของภัยคุกคามที่พบอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลสำคัญให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุในการอารักขาบุคคลสำคัญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพหัวหน้าชุดอารักขาบุคคลสำคัญ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 25582. หนังสือสัญญาระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04211 ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของพนักงานรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ 1.บอกข้อปฏิบัติและข้อห้ามของพนักงานรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 04211.01 58183
04211 ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของพนักงานรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ 2.ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญได้อย่างถูกต้อง 04211.02 58184
04212 ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1 ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 04212.01 58185
04212 ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 2. ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญการเดินเท้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 04212.02 58186
04212 ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 3. ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญโอกาสอื่นๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 04212.03 58187

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ความรู้เกี่ยวกับการอารักขาบุคคลสำคัญ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. การอารักขาบุคคลสำคัญ
2. การใช้อุปกรณ์อารักขาบุคคลสำคัญ
3. การสังเกต จดจำ การรู้จักพื้นที่และเส้นทางที่เกี่ยวข้อง
4. การเฝ้าระวัง และการคุ้มกันบุคคลสำคัญ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
2. ข้อกำหนดของขั้นตอนและวิธีการอารักขาบุคคลสำคัญ
3. รหัสและสัญลักษณ์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และการปฏิบัติงานด้านการอารักขาบุคคลสำคัญ
4. คู่มือการใช้อุปกรณ์อารักขาบุคคลสำคัญ
5. การติดต่อสื่อสาร และการประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. สัญญาว่าจ้างระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง
2. รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานการอารักขาบุคคลสำคัญ
(ข) หลักฐานด้านความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ปริญญาบัตร/ใบรับรองการผ่านงานด้านการอารักขาบุคคลสำคัญ
2. วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อารักขาบุคคลสำคัญในการปฏิบัติงาน
3. ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานอารักขาบุคคลสำคัญ
4. เอกสารรวมเล่มการปฏิบัติงานการอารักขาบุคคลสำคัญ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


ปฏิบัติการอารักขาบุคคลสำคัญและตามระเบียบวินัยของเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญ
(ก) คำแนะนำ
N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ข้อปฏิบัติของเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญ ประกอบด้วย
1. มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ และไว้วางใจได้
2. จิตใจมั่นคง สุขภาพจิตใจแข็งแรง ไม่หวั่นไหวง่าย
3. สุขภาพสมบูรณ์ และร่างกายแข็งแรง ทนต่องานตรากตำ
4. มีวินัย อดทน และเสียสละ
5. เป็นคนหูไว และสายตาดีเป็นเลิศ
6. ไม่เป็นโรคสุราเรื้อรัง และติดยาเสพติด
7. สามารถร่วมงานกับผู้อื่นเป็นชุดปฏิบัติการได้
8. มีความกล้าหาญ
9. มีความรู้พื้นฐานการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
10. มีความรู้ด้านการค้นหาและความรู้เกี่ยวกับมารยาทในสังคม
11. ตรวจสอบอุปกรณ์ประจำกายให้มีความพร้อม (ประมาณ ข้อ 10)
12. เป็นผู้ที่บุคคลสำคัญไว้วางใจ
13. การแต่งกาย การวางตัว และการแสดงกริยามารยาทของผู้ปฏิบัติงานจะต้องเหมาะสม
14. ในขบวนรถเมื่อบุคคลสำคัญขึ้นรถเรียบร้อยแล้วให้เคลื่อนขบวนทันที
15. การขึ้น – ลง ลิฟต์ให้เข้าก่อนต้องคอยกดปุ่มประตูให้บุคคลสำคัญเข้าไปในลิฟต์ให้เรียบร้อย การออกจากลิฟต์ต้องเป็นฝ่ายออกก่อน
16. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
17. ให้เกียรติผู้บังคับบัญชา/ผู้ว่าจ้างอย่างเคร่งครัด
18. ตรวจตราพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ
19. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่ประมาทเลินเล่อ
20. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในตำแหน่งรักษาการณ์ตามที่ได้รับมอบหมาย
21. รักษาความลับของบุคคลสำคัญ
22. พบสิ่งที่ผิดปกติให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
2. ข้อห้ามของพนักงานรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ประกอบด้วย
1. ห้ามเป็นฝ่ายชักชวนให้บุคคลสำคัญสนทนาด้วย
2. ไม่พยายามจับกุมผู้ก่อการร้าย
3. ไม่เข้าไปพัวพันกับผู้ก่อการร้ายด้วยอาวุธ เว้นแต่การระงับอันตรายที่จะเกิดขึ้น
4. ไม่ควรทำอะไรที่ซ้ำๆ จนเป็นกิจวัตร
5. อย่าจอดยานพาหนะโดยไม่มีคนเฝ้า
6. ห้ามสวมใส่เครื่องแบบนอกเหนือจากที่กำหนด
7. ห้ามใช้คำพูดและกิริยาที่ไม่เหมาะสม สุภาพ กับบุคคลสำคัญ
8. ห้ามรับอาหารและเครื่องดื่มจากผู้อื่นที่ไม่รู้จักโดยเด็ดขาด
9. ห้ามฟังวิทยุ เครื่อง MP3 ดูโทรทัศน์ และเครื่องสื่อสารที่ใช้เสียบหูฟังทุกชนิด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
18.2 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ