หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-PHOG-106A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพเจ้าหน้าที่ป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระดับ 4

ISCO-08 รหัสอาชีพ 2133 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นบุคคลที่สามารถจัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียวชี้แจงการเข้าดำเนินงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02331 จัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว 1.1 ติดต่อประสานงานคณะทำงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม 155528
02331 จัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว 1.2 อธิบายกรอบการดำเนินงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมแก่คณะทำงาน 155529
02331 จัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว 1.3 เตรียมความพร้อมในการประเมินทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 155530
02331 จัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว 1.4 กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในทีมงานให้ชัดเจน 155531
02331 จัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว 1.5 พิจารณาประเด็นที่จะใช้ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม 155532
02332 ชี้แจงการเข้าดำเนินงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว 2.1 อธิบายวัตถุประสงค์การเข้าดำเนินงานติดตามตรวจสอบได้ 155533
02332 ชี้แจงการเข้าดำเนินงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว 2.2 อธิบายระยะเวลาการเข้าดำเนินงานติดตามตรวจสอบได้ 155534
02332 ชี้แจงการเข้าดำเนินงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว 2.3 อธิบายขั้นตอนการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม 155535

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานดังนี้

1.    สามารถกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานในด้านสิ่งแวดล้อม 

2.    สามารถปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย 

3.    จัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

4.    ชี้แจงการเข้าดำเนินงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีดังนี้

1.    กฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

1.1    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1.1.1    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2560) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

1.1.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 

1.1.3    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558   

1.2    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษ 

1.2.1    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง แบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2559

1.2.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558 

1.3    กฎหมายเกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

1.3.1    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 

1.3.2    ประกาศสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การนับระยะเวลาตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ 

1.3.3    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553

2.    กฎหมายที่ใช้ในการอ้างอิงของการจัดการพื้นที่สีเขียว

2.1    คุณภาพอากาศ

2.1.1    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป (ยกเลิกประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555) 

2.1.2    ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของกรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560) 

2.1.3    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเคมีบางประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งสารเบนซีน และสาร1,3- บิวทาไดอีนออกสู่บรรยากาศ  

2.2    คุณภาพน้ำ

2.2.1    กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555

2.2.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดคุณลักษณะน้ำทิ้งที่ระบายออกนอก โรงงานให้มีค่าแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540

2.3    คุณภาพดิน 

2.3.1    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บตัวอย่างดินและน้ำใต้ดิน พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560    

2.3.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดเกณฑ์การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน การตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน การแจ้งข้อมูลรวมทั้งการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน และรายงานเสนอมาตรการควบคุมและมาตรการลดการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน  

2.3.3    กฎกระทรวง ควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. 2559 

2.3.4    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 20 ตุลาคม 2547

2.4    การจัดการของเสีย 

2.4.1    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560, ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

2.4.2    ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

2.4.3    กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

2.5    คุณภาพระดับเสียง 

2.5.1    ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษเรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน 28 กันยายน 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 28 กันยายน 2550

2.5.2    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 16 สิงหาคม 2550

2.6    ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย       

2.6.1    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. 2554

2.6.2    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

2.6.3    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559

2.6.4    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการดำเนินตรวจวัดและวิเคราะห์ สภาวะ การทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ พ.ศ. 2550

2.6.5    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน(ฉบับที่4) พ.ศ. 2552  

2.6.6    กฎกระทรวงฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 1 ปี

3.    ใบรับรองการปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 3 ปี

4.    ผลรับรองการผ่านการประเมินการปฏิบัติงานระดับสมรรถนะเจ้าหน้าที่ป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระดับ 3 ไม่น้อยกว่า 1 ปี

(ค)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    ผลคะแนนสอบทั้งภาคความรู้และปฏิบัติ

2.    หนังสือรับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1.    ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2.    ผู้เข้ารับการประเมินทราบวิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม



(ง)    วิธีการประเมิน

1.    การประเมินผลความรู้การประเมินผลความรู้จากการทดสอบความรู้

1.1    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

1.2    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าดำเนินงานติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียวตรวจสอบตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1.3    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

1.4    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกผลการติดตามตรวจสอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

2.    การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน

การประเมินประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ    

3.    การประเมินผลโดยการสอบสัมภาษณ์

การประเมินประสบการณ์ และทัศนคติในการทำงานที่สอดคล้องกับหน่วยสมรรถนะนี้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยมีคำแนะนำสำหรับผู้เข้ารับการประเมินดังต่อไปนี้ 

(ก)    คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะในการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านสิ่งแวดล้อม 

2.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย 

3.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะในปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

4.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในระดับสูงได้

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การประเมินผลกระทบทางสุขภาพสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จากโครงการหรือกิจการดังกล่าวข้างต้นให้ปฏิบัติตามแนวทาง การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ฉบับเดือนธันวาคม2552ที่จัดทาโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือที่มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดยให้เพิ่มขั้นตอนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

1.1    เพื่อให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และภาคส่วนต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอประเด็น ห่วงกังวลและแนวทางในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และเพื่อให้การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านสุขภาพเป็นไปอย่างครบถ้วนรอบด้านให้มากที่สุด ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ หรือผู้ขออนุมัติอนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจการ จัดเวทีกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ และจัดส่งรายงานการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพดังกล่าวต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จะต้องดำเนินการตามแนวทางการรับฟังความคิดเห็นตามที่กำหนดไว้

1.2    ในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะต้องมีการศึกษาครอบคลุมปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย

1.2.1    การเปลี่ยนแปลงสภาพและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรแร่ธาตุ ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ และระบบนิเวศ

1.2.2    การผลิต ขนส่ง และการจัดเก็บวัตถุอันตราย โดยจะต้องแจ้งประเภท ปริมาณ และวิธีดำเนินการของวัตถุอันตรายทุกชนิด

1.2.3    การกำเนิดและการปล่อยของเสียและสิ่งคุกคามสุขภาพ จากการก่อสร้าง จากกระบวนการผลิต และกระบวนการอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นขยะ กากของเสีย กากของเสียอันตราย น้ำเสีย ขยะติดเชื้อ ความร้อน มลสารทางอากาศ ฝุ่น แสง เสียง กลิ่น การสั่นสะเทือน และกัมมันตภาพรังสี

1.2.4    การรับสัมผัสต่อมลพิษและสิ่งคุกคามสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางการรับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย เช่น โดยการหายใจ การรับประทาน การสัมผัสทางผิวหนัง เป็นต้น การรับสัมผัสของคนงาน หรือผู้ปฏิบัติงานในโครงการหรือกิจการ การรับสัมผัสของประชาชนโดยรอบโครงการหรือกิจการ เป็นต้น

1.2.5    การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่ออาชีพ การจ้างงาน และสภาพการทางานในท้องถิ่น ทั้งทางบวกและทางลบ เช่น ความเสี่ยงและอุบัติเหตุจากการทางาน การเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ ทรัพยากร และห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการที่เป็นฐานการดารงชีวิตหลักของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในพื้นที่

1.2.6    การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของประชาชนและชุมชน ทั้งความสัมพันธ์ภายในชุมชนและภายนอกชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอพยพของประชาชนและแรงงาน การเพิ่ม/ลดพื้นที่สาธารณะของชุมชน และความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการดังกล่าว

1.2.7    การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่มีความสำคัญหรือเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เช่น ศาสนสถาน สถานที่ที่ประชาชนสักการบูชา หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถานสำคัญ

1.2.8    ผลกระทบที่เฉพาะเจาะจงหรือมีความรุนแรงเป็นพิเศษต่อประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีความเปราะบางเช่น เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น

1.2.9    ทรัพยากรและความพร้อมของภาคสาธารณสุข ทั้งในแง่ของการสร้างเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน ที่อาจเกี่ยวเนื่องกับโครงการหรือกิจการ รวมถึงความพร้อมของข้อมูลสถานะสุขภาพในพื้นที่ก่อนมีการดำเนินการ การจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อติดตามผลกระทบ ขีดความสามารถการสำรวจโรค และการรับมือกับอุบัติภัยและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น

1.3    เพื่อให้รายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการอนุมัติ หรืออนุญาต จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยสาธารณะ และจัดส่งรายงานสรุปความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย และสาธารณชน พร้อมทั้งความเห็นและคำชี้แจงให้แก่คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยหลักเกณฑ์ ในการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้เป็นไปตามแนวทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย

2.    การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ

2.1    กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและ แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

2.1.1    ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและ แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอประเด็นห่วงกังวลและแนวทางในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และเพื่อให้การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นไปอย่างครบถ้วน 

2.1.2    การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

2.1.2.1    ต้องแจ้งล่วงหน้าให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสาธารณชนทราบไม่น้อยกว่า 1 เดือน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่สารบรรณของหน่วยงานของรัฐได้ประทับตรารับหนังสือ และแจ้งให้สาธารณชนทราบผ่านทางช่องทางการสื่อสารสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง เพื่อให้หน่วยงานและสาธารณชน ที่สนใจสามารถเตรียมตัวเข้าร่วมได้อย่างทั่วถึง

2.1.2.2    ต้องเปิดเผยเอกสารโครงการ โดยระบุถึงความเป็นมา ความจำเป็น แหล่งเงินทุน กระบวนการ และแนวทางในการดำเนินโครงการ รวมถึงนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และร่างข้อเสนอการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนพิจารณาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่เปิดเผยเอกสารโครงการหรือร่างรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์แล้วแต่กรณี           ต่อสาธารณชนจนถึงวันก่อนจัดเวทีสาธารณะ ซึ่งก่อนการจัดเวทีผ่านทางช่องทางการสื่อสารสาธารณะ         ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง

2.1.2.3    จัดระบบการลงทะเบียนเพื่อให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความประสงค์ที่จะให้ความเห็นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้โดยสะดวก

2.1.2.4    การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ต้องจัดช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้นำเสนอประเด็นห่วงกังวล ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอแนวทางในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเวลาในการจัดเวทีทั้งหมด

2.1.2.5    ภายหลังการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ จะต้องเปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า15 วัน โดยต้องมีช่องทางอย่างน้อย 2 ช่องทาง

2.1.3    ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ หรือผู้ขออนุมัติอนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจการจัดทำรายงานสรุปความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน พร้อมทั้งคำชี้แจง และนำเสนอขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อการดำเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อทราบ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชนต่อไป

2.2    กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในขั้นตอนการประเมินและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ

    ในขั้นตอนการประเมินและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ให้เจ้าของโครงการหรือผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ดำเนินการตาม แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประเมินผลกระทบทางสังคมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ที่จัดทาโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน โดยเจ้าของโครงการหรือผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

2.2.1    ให้ผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ทาการเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับโครงการหรือกิจการที่กาลังดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ โดยจะต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้

2.2.1.1    ข้อมูลเกี่ยวกับประเภท ขนาด กาลังการผลิต และขนาดพื้นที่ของโครงการหรือกิจการ ข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้าหรือที่ดินสาธารณะที่จะใช้เป็นสถานที่รองรับน้าทิ้งหรือของเสียจากโครงการหรือกิจการ     (ถ้ามี) รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ

2.2.1.2    แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ถ้ามี)

2.2.1.3    ระยะเวลาที่คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการหรือกิจการ

2.2.1.4    ชื่อเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานที่มีอำนาจในการอนุมัติหรืออนุญาตตามกฎหมาย หมายเลขโทรศัพท์และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม

2.2.1.5    วัน เวลา และสถานที่ที่จะมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย

2.2.1.6    ป้ายแสดงข้อมูลตาม 2.2.1.5-2.2.1.6 จะต้องมีสถานที่ตั้งและขนาดที่ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวก

2.2.2    ในการสำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ให้ผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ แสดงชื่อโครงการหรือกิจการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและประเด็นที่จะ มีการสำรวจหรือรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจน โดยประเด็นที่จะสำรวจแต่ละประเด็นจะต้องสอดคล้องกับรายละเอียดของโครงการหรือกิจการนั้นๆ ด้วย

2.2.3    ในการสำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ควรให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและการศึกษาทาความเข้าใจถึงวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการดำเนินโครงการหรือกิจการดังกล่าว

2.2.4    ในการสำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ อาจทาโดยวิธีดังต่อไปนี้

2.2.4.1    การสัมภาษณ์รายบุคคล

2.2.4.2    การแสดงความคิดเห็นทางไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร ระบบเครือข่ายสารสนเทศ หรือทางอื่น

2.2.4.3    การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียมารับข้อมูลและแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโครงการ

2.2.4.4    การสนทนากลุ่มย่อย

2.2.4.5    การประชุมเชิงปฏิบัติการ

2.2.4.6    การประชุมระดับตัวแทนของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย

2.2.5    เมื่อผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ทาการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียแล้ว จะต้องสรุปผลการสำรวจความคิดเห็น ทั้งในด้านบวกและในด้านลบ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ดำเนินการสำรวจความเห็นเสร็จสิ้น โดยให้แสดงรายงานไว้ยังที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่ทาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสถานบริการสุขภาพของรัฐในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการหรือกิจการ ในจุดที่ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงและพบเห็นได้โดยง่าย ทั้งนี้จะต้องแสดงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ในสถานที่ดังกล่าวข้างต้นไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน

2.3    กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียในการทบทวนร่างรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ





2.3.1    ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ จัดเวทีทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ เพื่อให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนสมบูรณ์ของร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ รวมถึงนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ต่อร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ดังกล่าว

2.3.2    การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ เพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน

2.3.2.1    ต้องแจ้งล่วงหน้าให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและสาธารณชนรับทราบไม่น้อยกว่า 1 เดือน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่สารบรรณของหน่วยงานของรัฐได้ประทับตรารับหนังสือ โดยในส่วนของสาธารณชนให้ผ่านทางช่องทางการสื่อสารสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง

2.3.2.2    ต้องเปิดเผยร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนพิจารณาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่เปิดเผยเอกสารโครงการหรือร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์แล้วแต่กรณีต่อสาธารณชนจนถึงวันก่อนจัดเวทีสาธารณะ ผ่านทางช่องทางการสื่อสารสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง

2.3.2.3    การจัดเวทีการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ต้องจัดช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้นำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อ ร่างรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเวลา ในการจัดเวทีทั้งหมด

2.3.2.4    ภายหลังการจัดเวทีการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ต้องเปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อย 2 ช่องทาง อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า15วัน

2.3.3    ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกิจการ จัดทำรายงานสรุปความคิดเห็นของประชาชนและ ผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งความเห็นและคำชี้แจงของหน่วยงานเจ้าของโครงการ หน่วยงานอนุมัติ หน่วยงานอนุญาตหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อทราบ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชนต่อไป

3.    การติดตามการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

3.1    การจัดเตรียมความพร้อมของทีมงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียวมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.1.1    เชิญทีมงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาประชุมร่วมกัน

3.1.2    เตรียมความพร้อมล่วงหน้าก่อนเข้าพื้นที่ดำเนินงาน

3.1.3    แจ้งกำหนดการดำเนินงานให้รับทราบ

3.1.4    ทำความเข้าใจการดำเนินงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา

3.1.5    กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในทีมงานให้ชัดเจน

3.1.6    พิจารณาประเด็นที่จะใช้ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

3.2    การชี้แจงการเข้าดำเนินงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว มีรายละเอียดดังต่อไปนี้    

3.2.1    สามารถอธิบายวัตถุประสงค์การเข้าดำเนินงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

3.2.2    สามารถอธิบายระยะเวลาการเข้าดำเนินงานติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว

3.2.3    สามารถอธิบายขั้นตอนการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

18.2 การสอบสัมภาษณ์

18.3 แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ