หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิจัยตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-LYPN-088A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิจัยตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักการตลาดพื้นที่สีเขียว ระดับ 5

ISCO-08 รหัสอาชีพ 2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวกำหนดขอบเขตการวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดที่ต้องการดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดควบคุมการดำเนินงานวิจัยรายงานผลการวิจัยตลาด โดยมีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการและกำหนดนโยบายขององค์กรโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างอิสระสามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆได้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและสามารถอบรมและฝึกฝนบุคคลอื่นได้    

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01381 กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.1 อธิบายความสำคัญของการวิจัยตลาด 155322
01381 กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.2 ระบุขอบเขตของการวิจัย 155323
01381 กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.3 อธิบายวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย 155324
01381 กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.4 ระบุขั้นตอนของการวิจัยตลาด 155325
01382 กำหนดขอบเขตการวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดที่ต้องการ 2.1 จำแนกประเภทของการวิจัยตลาด 155326
01382 กำหนดขอบเขตการวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดที่ต้องการ 2.2 จำแนกวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาดตามประเภทของการวิจัยตลาด 155327
01383 ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด 3.1 ออกแบบงานวิจัยตลาดประเภทการวิจัยผู้บริโภค 155328
01383 ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด 3.2 ออกแบบงานวิจัยตลาดประเภทการวิจัยเหตุจูงใจ 155329
01383 ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด 3.3 ออกแบบงานวิจัยตลาดประเภทการวิเคราะห์ตลาด 155330
01383 ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด 3.4 ออกแบบงานวิจัยตลาดประเภทการวิจัยการกระจายสินค้า 155331
01383 ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด 3.5 ออกแบบงานวิจัยตลาดประเภทการวิเคราะห์การขาย 155332
01383 ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด 3.6 ออกแบบงานวิจัยตลาดประเภทการวิจัยการโฆษณาและส่งเสริมการขาย 155333
01383 ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด 3.7 ออกแบบงานวิจัยตลาดประเภทการวิจัยผลิตภัณฑ์ 155334
01384 ควบคุมการดำเนินงานวิจัย 4.1 ตรวจสอบในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย 155335
01384 ควบคุมการดำเนินงานวิจัย 4.2 ประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนการวิจัย 155336
01385 รายงานผลการวิจัยตลาด 5.1 ระบุสาระสำคัญที่ต้องรายงานในรายงานผลการวิจัย 155337
01385 รายงานผลการวิจัยตลาด 5.2 จัดทำรายงานผลการวิจัยตลาด 155338

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวิจัยตลาดธุรกิจ

2. ทักษะในการสื่อสาร 

3. ทักษะการใช้โปรแกรมเพื่อสนับสนุนงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.การวิจัยการตลาด

 การวิจัยการตลาดเป็นหน้าที่ที่เชื่อมโยงผู้บริโภคลูกค้าและชุมชน ให้กับนักการตลาด       โดยอาศัยข่าวสารซึ่งใช้ในการกำหนดโอกาสและปัญหาทางการตลาดและปรับปรุงความเข้าใจทางการตลาดในรูปแบบของกระบวนการการวิจัยการตลาดระบุข่าวสารที่ต้องการในการระบุปัญหาออกแบบวิธีการในการ

รวบรวมข่าวสารจัดการและนำกระบวนการรวบรวมข้อมูลไปใช้งานวิเคราะห์ผลลัพธ์และสื่อสารและ

ประยุกต์ใช้ผลลัพธ์ที่ได้โดยการวิจัยการตลาดมีความสำคัญเนื่องจากเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของ

ฝ่ายบริหารในการวางนโยบายและวางแผนเกี่ยวกับการตลาดและเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพ

ขององค์การ

ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้การวิจัยตลาดมีความสำคัญมากขึ้น คือ

1. การเปลี่ยนแปลงด้านตลาด สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละท้องที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยและกาลเวลา ลักษณะสังคมมีแบบแผนความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป การถ่ายทอดแนวความคิดของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมหลายประการ

2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (Technological Change) ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์     และเทคโนโลยี 

3. การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพการแข่งขัน (Competition Change) ผู้ผลิตหรือผู้ค้าพยายาม ผลักดันสินค้าโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดทุกวิถีทางที่จะจำหน่ายสินค้านั้น

4. การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพย์ากร (Supplies and Resources Change) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพย์ากรมีบทบาทต่อการตลาด ซึ่งทำให้ผู้บริหารจำเป็นต้องหาข้อมูลของแหล่งทรัพย์ากร และวิธีการผลิตใหม่ๆ 

5. การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social and Culture Change) ความเปลี่ยนแปลงรสนิยมการบริโภค การออม การจับจ่าย สภาพความเป็นอยู่(Way of Life)

6. การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารด้วยจริยธรรม (Ethical Management) รูปแบบการบริหารได้เปลี่ยนไปจากคติพจน์ พ่อค้ารุ่นเก่าที่มุ่งหวังแต่กำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด แนวคิดดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนแปลงไปมากจากทัศนคติของนักธุรกิจรุ่นใหม่ ซึ่งเข้ามาประกอบธุรกิจในตลาด มีการแข่งขันรุนแรง ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าคุณภาพดี ภายใต้ราคายุติธรรม

ความหมายของการวิจัย และการวิจัยตลาด

การวิจัย คือ การนำเอาวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาใช้วิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบของปัญหาต่างๆวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) หมายถึง วิธีการใดๆ ที่มีกฎเกณฑ์หรือหลักการที่แน่นอน

“การวิจัยตลาด” หมายถึง การรวบรวม การบันทึก และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ    อันเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ในการจำหน่ายสินค้าและบริการ

ประเภทของการวิจัย (Types of Research)

1. การจำแนกงานวิจัยโดยพิจารณาจาก ลักษณะข้อมูล

2. การจำแนกงานวิจัยโดยพิจารณาจาก ลักษณะปัญหา

การจำแนกโดยพิจารณา “ลักษณะข้อมูล” สามารถแบ่งงานวิจัยได้ 3 ประเภท

1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ     ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ไม่เคยรู้มาก่อนเพื่อให้เกิด ความรอบรู้ขั้นพื้นฐาน

2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้า การวิจัยขั้นพื้นฐานต่อเนื่อง เพื่อนำแนวคิดนั้น ๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์

3. การวิจัยเพื่อพัฒนา (Development Research) เป็นการศึกษาค้นคว้า พัฒนาเพื่อให้สินค้าบริการนั้น เกิดความเป็นเลิศในคุณสมบัติและ คุณภาพตามความต้องการของผู้บริโภค

การจำแนกโดยพิจารณา “ลักษณะปัญหา” สามารถแบ่งงานวิจัยได้ 3 ประเภท

1. การวิจัยเชิงค้นคว้า (Exploratory Research) เป็นการวิจัยที่ไม่มีการกำหนดปัญหาไว้ก่อนล่วงหน้า ต้องการรวบรวมข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง กับสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ

2. การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่กำหนด เค้าโครงของปัญหาขึ้นแล้ว การทำวิจัยจะถูกวางแผนขึ้นเพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ

3. การวิจัยเชิงเหตุผล (Causal Research) เป็นการวิจัยที่มีปัญหาระบุมาชัดเจน งานวิจัยจัดทำขึ้นเพื่อหาข้อมูลมาแก้ไขปัญหานั้น หรือเพื่อหาทาง เลือกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหานั้นๆ

ประเภทของการวิจัยตลาด (Types of Marketing Research)

1. การวิจัยผู้บริโภค (Consumer Research) ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะของผู้บริโภค

2. การวิจัยเหตุจูงใจ (Motivational Research) ประเมินค่าแรงจูงใจ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติของผู้บริโภค

3. การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) ประมาณความต้องการสินค้าแต่ละชนิด

4. การวิจัยการจำหน่าย (Distribution Research) ศึกษาและวิเคราะห์วิธีการที่จะสามารถกระจายสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคได้

5. การวิเคราะห์การขาย (Sales Analysis) เพื่อประเมินสภาพการตลาด

6. การวิจัยโฆษณาและส่งเสริมการขาย (Advertising and Sales Promotion Research) เพื่อการศึกษาประสิทธิภาพของโฆษณาและโปรแกรมการส่งเสริมการขายที่ธุรกิจดำเนินการไป

7. การวิจัยผลิตภัณฑ์ (Product Research) วิเคราะห์เพื่อหาข้อเท็จจริงต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย เพื่อพัฒนาสินค้าในด้านคุณลักษณะ ขนาด แบบ รูปร่าง สี หีบห่อประโยชน์ใช้สอย และราคาตามที่ผู้บริโภคต้องการ

ข้อจำกัดบางประการของการทำวิจัยตลาด (Limitation of Research)

1. งบประมาณ หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะต้องใช้ในระหว่างการจัดทำวิจัย

2. ระยะเวลา หมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ทำวิจัย 

3. บุคลากร และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัย

4. อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติ หมายถึงวิธีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ละวิธี ซึ่งมีข้อ ได้เปรียบเสียเปรียบของมันเอง อยู่ในตัว

 5. ความซื่อสัตย์ หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับควรซื่อสัตย์ต่อการปฏิบัติงานด้วย

การประเมินคุณค่าของงานวิจัย

1. ความถูกต้องแม่นยำ ผลสรุปงานวิจัยนั้นเป็นตัวแทนเหตุการณ์นั้นๆ ได้ดีเพียงใด ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้เป็นข้อเท็จจริงเพียงใด

2. ความสามารถในการแก้ปัญหา หรือประโยชน์ของการใช้ข้อมูลเพื่อการแก้ปัญหาข้อมูลทั้งหลายนั้นเก็บรวบรวมขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการช่วยแก้ปัญหาที่ผู้บริหารประสบอยู่ และต้องการตัดสินใจในการเลือกที่ดีที่สุด หากข้อมูลจากผลงานวิจัย ตรงประเด็นปัญหาก็นับว่าเป็นงานวิจัยที่ดีได้

3. ทรัพย์ากรที่ใช้ไปในงานวิจัยนั้น ต้องเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัย หากเป็นงานวิจัยที่ได้ประโยชน์มหาศาล สามารถแก้ปัญหาสำคัญได้ และใช้ทรัพย์ากรในการจัดทำวิจัยพอสมควร ก็เรียกว่าผลงานวิจัยมีคุณค่าสูง

4. ระเบียบวิธีวิจัย เหมาะสมเพียงใด และสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่

กรรมวิธีการทำวิจัยตลาด (Marketing Research Procedure)

ขั้นตอนการทำวิจัยแบ่งเป็น 8 ขั้น คือ

1. การวิเคราะห์และกำหนดปัญหา นักวิจัยต้องกำหนดและวิเคราะห์ปัญหาให้ได้ชัดเจน

2. การศึกษาภูมิหลัง และสถานการณ์ภายนอก ต้องมีการศึกษาหาภูมิหลังของปัญหานั้นๆ ได้แก่การศึกษาประวัติกิจการ ลักษณะสินค้า ระดับราคา การแข่งขันในตลาด การจัดการภายในและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการส่วนการศึกษาสถานการณ์ ภายนอก เป็นการสำรวจข่าวสารทั่วไปภายนอกกิจการ อันอาจมีผลกระทบต่อปัญหาและการดำเนินงานของกิจการ

3. การออกแบบวิจัย

ขั้นการออกแบบวิจัยนั้นประกอบด้วย

3.1 กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของงานวิจัย

3.2 กำหนดชนิดและแหล่งข้อมูล

ชนิดของข้อมูลทางการตลาดแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวม ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ได้มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้ก่อนหน้าแล้ว       

แหล่งข้อมูล (Sources of Data)

1. แหล่งภายในองค์กร (Internal Source) เป็นข้อมูลที่ธุรกิจนั้นได้เก็บรวบรวมไว้แล้วภายในธุรกิจ

2. แหล่งภายนอกองค์กร (External Source) เป็นข้อมูลที่มีการจัดพิมพ์เผยแพร่สู่สารธารณชน

3.3 กำหนดระเบียบวิธีในการวิจัย

ระเบียบวิจัยการทำวิจัย (Research Methodology)

1. วิธีการสำรวจ (Survey Method) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้คำถาม หรือเรียกว่าการใช้แบบสอบถาม 

2. วิธีการสังเกต (Observational Method) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้สำหรับวัดพฤติกรรมผู้บริโภคที่แสดงออกมา โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว

3. วิธีการทดลอง (Experimental Method) เป็นการเก็บรวมรวม ข้อมูลโดยอาศัยการจดบันทึกและการควบคุมวิธีการทดลองให้เป็นไปตามแผนงานที่จัดทำไว้ 

4. วิธีการศึกษาจากข้อมูลในอดีต (Historical Method หรือ Desk Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่ถูกบันทึกไว้แล้วทั้งภายนอก ภายในกิจการ

3.4 กำหนดขนาดและชนิดของตัวอย่าง

3.5 เตรียมแบบสอบถาม และวางแผนวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องการ

3.6 กำหนดทรัพย์ากรที่ต้องใช้ในการทำวิจัย ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงิน บุคคลและระยะเวลาที่ต้องใช้

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

5. การประมวล ทำการเก็บข้อมูลตามที่ได้ออกแบบ และวิเคราะห์ข้อมูลการประมวลข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่เก็บได้มาตรวจสอบความถูกต้อง แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ตามระเบียบวิธีทางสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการตีความข้อมูลที่จัดประมวลไว้

6. การแปลความ และสรุปผลนักวิจัยต้องสามารถแปลความและสรุปผลของการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ผู้บริหารเข้าใจและสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อแก้ประเด็นปัญหาที่ได้กำหนดไว้แต่แรกได้

7. การจัดทำรายงานและการนำเสนอ กระทำได้ 2 แบบ คือ การนำเสนอ ด้วยรายงาน และการนำเสนอปากเปล่า

8. การติดตามผล การติดตามผลจะตามมาเพื่อตรวจเช็คว่าผลงาน วิจัยได้ถูกนำไปใช้ได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาดขอบเขตการวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดที่ต้องการดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดควบคุมการดำเนินงานวิจัยรายงานผลการวิจัยตลาด หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด ขอบเขตการวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดที่ต้องการ ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด ควบคุมการดำเนินงานวิจัย รายงานผลการวิจัยตลาด หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด ขอบเขตการวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดที่ต้องการ ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด ควบคุมการดำเนินงานวิจัย รายงานผลการวิจัยตลาด และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัยตลาด        

2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย

2. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบอัตนัย

3. แฟ้มสะสมผลงาน

4. การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยตลาด

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด ขอบเขตการวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาดที่ต้องการ ดำเนินการออกแบบงานวิจัยตามประเภทของการวิจัยตลาด ควบคุมการดำเนินงานวิจัย รายงานผลการวิจัยตลาด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การวิจัยการตลาด หมายถึง วิธีการในการเชื่อมโยงผู้บริโภคลูกค้าและชุมชน  ให้กับนักการตลาดโดยอาศัยข่าวสารซึ่งใช้ในการกำหนดโอกาสและปัญหาทางการตลาดและปรับปรุงความเข้าใจทางการตลาดในรูปแบบของกระบวนการการวิจัยการตลาดระบุข่าวสารที่ต้องการในการระบุปัญหา ออกแบบวิธีการในการ

รวบรวมข่าวสารจัดการและนำกระบวนการรวบรวมข้อมูลไปใช้งาน วิเคราะห์ผลลัพธ์และสื่อสารและ

ประยุกต์ใช้ผลลัพธ์ที่ได้โดยการวิจัยการตลาดมีความสำคัญเนื่องจากเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของ

ฝ่ายบริหารในการวางนโยบายและวางแผนเกี่ยวกับการตลาดและเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพ

ขององค์การดังคำอธิบายข้อ 13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)(ข) ความต้องการด้านความรู้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

18.2 แฟ้มสะสมผลงาน

18.3 การสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ