หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการพัสดุคงคลัง (Inventory)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 21104

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการพัสดุคงคลัง (Inventory)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          1323   ผู้วางแผนและตรวจสอบงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ ชั้น 4 (Trackwork Maintenance Planner IV)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่ต้องการในการบริหารจัดการด้านพัสดุคงคลัง การจัดเก็บข้อมูลคงคลัง และสามารถบริหารจัดการงานพัสดุคงคลังสำหรับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟได้อย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถจัดทำเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          1323 ผู้จัดการด้านการก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
21104.1 จัดทำประวัติพัสดุคงคลังสำหรับงานซ่อมบำรุงทาง 1) ตรวจสอบระดับคงคลังของชิ้นส่วนอะไหล่และวัสดุต่างๆ ที่รองรับงานซ่อมบำรุงทางที่สำรองไว้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 21104.1.01 145809
21104.1 จัดทำประวัติพัสดุคงคลังสำหรับงานซ่อมบำรุงทาง 2) ปรับปรุงรายการสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่ และวัดสุต่างๆ ที่รองรับงานซ่อมบำรุงทางเข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ 21104.1.02 145810
21104.1 จัดทำประวัติพัสดุคงคลังสำหรับงานซ่อมบำรุงทาง 3) จัดทำประวัติการเคลื่อนย้ายพัสดุคงคลังภายใต้นโยบายของหน่วยงาน 21104.1.03 145811
21104.2 จัดการพัสดุคงคลังและระบบหมุนเวียน 1) อธิบายความสำคัญของนโยบายและกระบวนการในการจัดการพัสดุคงคลังสำหรับงานซ่อมบำรุงทางของหน่วยงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ 21104.2.01 145812
21104.2 จัดการพัสดุคงคลังและระบบหมุนเวียน 2) แยกประเภทพัสดุคงคลังของงานซ่อมบำรุงทางด้วยรหัส และ/หรือความสิ้นเปลืองในการใช้งาน เพื่อให้สะดวกในการเบิกจ่าย 21104.2.02 145813
21104.2 จัดการพัสดุคงคลังและระบบหมุนเวียน 3) กำหนด Stock Keeping Unit (SKU) ของพัสดุคงคลังให้มีความแตกต่างกันชัดเจนเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถจัดเตรียมชิ้นส่วนอะไหล่ และวัสดุต่างๆ ที่จะต้องใช้ในงานซ่อมบำรุงได้ถูกต้องตรงตามรายการเบิก 21104.2.03 145814
21104.2 จัดการพัสดุคงคลังและระบบหมุนเวียน 4) จัดหาชิ้นส่วนอะไหล่ และวัสดุต่างๆ ที่รองรับงานซ่อมบำรุงทางเข้ามาเก็บในคลังได้ถูกต้องตามขั้นตอนและกระบวนการของหน่วยงาน 21104.2.04 145815
21104.2 จัดการพัสดุคงคลังและระบบหมุนเวียน 5) บันทึกรายการเบิก-จ่ายชิ้นส่วนอะไหล่ และวัสดุต่างๆ ที่รองรับงานซ่อมบำรุงทาง เพื่อควบคุมพัสดุคงคลังให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม 21104.2.05 145816
21104.3 ระบุความสูญหายด้านคงคลัง 1) ระบุสาเหตุของการสูญหายด้านคงคลังได้ถูกต้องและมีเหตุผลรองรับ 21104.3.01 145817
21104.3 ระบุความสูญหายด้านคงคลัง 2) ประเมินการสูญหายด้านคงคลังได้ 21104.3.02 145818
21104.3 ระบุความสูญหายด้านคงคลัง 3) จัดทำรายงานข้อมูลสถานะคงคลังภายใต้การสูญหายได้ 21104.3.03 145819

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000   ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน  



00001   ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย



00002   ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย



00003   ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการจัดการสำหรับผู้บริหาร

  2. ทักษะการคิดวิเคราะห์

  3. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ  

  4. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  5. ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

  6. ทักษะการจัดการด้านพัสดุคงคลัง

  7. ทักษะการใช้เทคโนโลยีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล

  8. ทักษะการเขียนและจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. วัสดุทาง

  2. เครื่องมือและเครื่องจักรกลบำรุงทาง

  3. การซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  4. การควบคุมพัสดุคงคลัง (Inventory) 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองการฝึกอบรมในหลักสูตรการบริหารจัดการพัสดุคงคลัง ( Inventory) และ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพัสดุคงคลัง (Inventory) สำหรับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งสามารถตรวจนับและจัดเก็บประวัติพัสดุคงคลัง และการหมุนเวียนของพัสดุคงคลัง ตลอดจนระบุพัสดุคงคลังที่สูญหาย นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. พัสดุคงคลังสำหรับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ อาทิเช่น

    • ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องมือเครื่องจักร

    • วัสดุอื่นๆ ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทาง



  2. ขอบเขตของงาน:

    • ตรวจสอบระดับคงคลังของวัสดุซ่อมบำรุง

    • ดูแลและจัดทำประวัติการเคลื่อนย้ายวัสดุคงคลัง

    • แยกประเภทของวัสดุที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทาง

    • กำหนด Stock Keeping Unit (SKU) ของวัสดุที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทาง

    • จดบันทึกรายการวัสดุซ่อมบำรุงเข้า-ออก 

    • ระบุสาเหตุของการสูญหายด้านคงคลัง

    • ประเมินการสูญหายด้านคงคลัง

    • จัดทำรายงานข้อมูลสถานะคงคลัง



  3. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:

    • การใช้วิทยุสื่อสาร

    • การใช้โทรศัพท์มือถือ



  4. การแจ้งข้อมูล:

    • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

    • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

    • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



  5. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:

    • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

    • คู่มือการบริหารจัดการพัสดุคงคลัง

    • คู่มือนายตรวจทาง

    • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

    • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

    • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน 

    • คำแนะนำด้านเทคนิค

    • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน 

    • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร 

    • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. เครื่องมือประเมินการจัดทำประวัติพัสดุคงคลังสำหรับงานซ่อมบำรุงทาง

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  2. เครื่องมือประเมินการจัดการพัสดุคงคลังและระบบหมุนเวียน

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  3. เครื่องมือประเมินการระบุความสูญหายด้านคงคลัง

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)





ยินดีต้อนรับ