หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-KHTH-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ทุกอาชีพในอุตสาหกรรมระบบราง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า การจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การดำเนินการขอเข้าพื้นที่ซ่อมบำรุงที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูง การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง การดำเนินการออกจากพื้นที่หลังจากเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุง โดยให้เป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูง และกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          3112 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมโยธา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          1323 ผู้จัดการด้านการก่อสร้าง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2554  พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00001.1 ระบุความต้องการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 1) ระบุประเภทและขอบเขตการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าได้ 00001.1.01 133740
00001.1 ระบุความต้องการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 2) บ่งชี้สัญลักษณ์เตือนอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงได้ 00001.1.02 133741
00001.1 ระบุความต้องการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 3) ปฏิบัติตามมาตรการ Lockout/Tagout ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูง 00001.1.03 133742
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 1) กรอกเอกสาร/แบบฟอร์มขอเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอน/กระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 00001.2.01 133743
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 2) ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 00001.2.02 133744
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 3) ตรวจสอบได้ว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 00001.2.03 133745
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 4) ปิดกั้นพื้นที่ทำงาน และติดตั้ง Safety System บริเวณที่มีการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงได้ 00001.2.04 133746
00001.2 ดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 5) ตรวจสอบการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าปกติและการต่อลงดินเพื่อความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม 00001.2.05 133747
00001.3 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง 1) บอกวิธีใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูงได้ 00001.3.01 133748
00001.3 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง 2) ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูงได้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ 00001.3.02 133749
00001.3 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง 3) จัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกวิธี 00001.3.03 133750
00001.4 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง 1) สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูงตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน 00001.4.01 133751
00001.4 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง 2) ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางวิ่งรถไฟฟ้าที่มีไฟฟ้าแรงสูงตามวิธีการและข้อกำหนดความปลอดภัย 00001.4.02 133752
00001.4 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง 3) เลือกใช้เครื่องมือดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมสำหรับบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้า 00001.4.03 133753
00001.5 ทำความสะอาด และออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน 1) ถอดเก็บ Safety System ออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน 00001.5.01 133754
00001.5 ทำความสะอาด และออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน 2) ทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานตรวจสอบและจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ 00001.5.02 133755
00001.5 ทำความสะอาด และออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน 3) กรอกเอกสาร/แบบฟอร์มออกจากพื้นที่ และยืนยันสิ้นสุดการปฎิบัติงานได้ตามขั้นตอน/กระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 00001.5.03 133756

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000  ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน                  

  2. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล                                                   

  3. การดับเพลิงขั้นต้น                                                                           

  4. การปฐมพยาบาลและช่วยเหลือเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานระบบรางขั้นพื้นฐาน                                       

  2. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า                                                           

  3. สาเหตุและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า                                                   

  4. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้า                                               

  5. ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานในบริเวณที่มีสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง            

  6. การใช้เครื่องมือดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมสำหรับบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้า                   

  7. ระบบล็อคและระบบป้ายทะเบียน (Lockout/Tagout)                                    


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ                                 

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                         

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ                                                         

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ       



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                                 

  2. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า                                                      



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้                                                                    



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น              

  2. การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)              


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย การประเมินสภาพแวดล้อมและบริเวณพื้นที่การทำงาน และมีทักษะในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงตามมาตรฐานความปลอดภัย เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งใช้และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูงตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความคล่องตัว ปลอดภัย และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที  นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ขอบเขตของงาน:

    • จัดทำและปฏิบัติตามมาตรการ Lockout /Tagout ก่อนทำการตรวจเช็คหรือซ่อมบำรุงเพื่อความปลอดภัย

    • ตรวจสอบการตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน

    • ปิดกั้นพื้นที่และติดตั้ง Safety System บริเวณที่มีการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า

    • ตรวจสอบการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า

    • ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง

    • ถอดเก็บป้ายเตือนและแผงกั้น/เครื่องกั้นออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน

    • ทำความสะอาดพื้นที่การปฏิบัติงาน

    • กรอกเอกสาร/แบบฟอร์มออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน



  2. เอกสาร/แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง เช่น

    • แบบฟอร์มระบุขอบเขตการปฏิบัติงาน 

    • เอกสารเกี่ยวกับการดูแลรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ 



  3. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้า เช่น

    • ถุงมือยาง/ถุงมือหนัง

    • แขนเสื้อยาง 

    • แผ่นยาง/ผ้าห่มยาง 

    • ฉนวนครอบลูกถ้วย ฉนวนหุ้มสาย 

    • หมวกแข็งกันไฟฟ้า 

    • เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt)

    • รองเท้าพื้นยางหุ้มข้อชนิดมีส้น

    • ฯลฯ



  4. Safety System เช่น

    • ป้ายเตือน

    • แผงกั้น/เครื่องกั้น

    • ไฟสัญญาน

    • ธงสีแดง

    • เทปสีแดง



  5. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้:

    • อุปกรณ์ทดสอบไฟ

    • อุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า

    • ชุดต่อลงดินเพื่อความปลอดภัย



  6. ข้อมูล/เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง:

    • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

    • คู่มือความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง

    • มาตรการล็อคและแขวนป้ายอุปกรณ์ (Lockout/Tagout)

    • เอกสาร/แบบฟอร์มการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า

    • คำแนะนำด้านเทคนิค

    • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน 

    • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. เครื่องมือประเมินการระบุความต้องการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน

    • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  2. เครื่องมือประเมินการดำเนินการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน

    • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  3. เครื่องมือประเมินการเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง

    • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  4. เครื่องมือประเมินการปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง

    • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  5. เครื่องมือประเมินการทำความสะอาดและออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

    • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)





ยินดีต้อนรับ