หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานใช้แขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ -FIM-2-126ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานใช้แขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ช่วยช่างบันทึกเสียง (2nd Assistant Boom Operator)

ISCO 2654




6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแผนกเสียง สามารถดำเนินการติดตั้งก้านบูมไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมโดยการติดตั้ง และปรับ ได้ สามารถดำเนินการใช้งานก้านบูม ไมโครโฟน และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมด้วยการถือ และบังคับอย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2654 ผู้กำกับและผู้ผลิตภาพยนตร์ ละคร และงานสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1050601 ติดตั้งแขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom) 1. ติดตั้งก้านบูมกับไมโครโฟนและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมได้ถูกต้องตรงตามประเภทอุปกรณ์ 1050601.01 138940
1050601 ติดตั้งแขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom) 2. ปรับก้านบูมกับไมโครโฟน และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมได้ตรงตามลักษณะการถ่ายทำ 1050601.02 138941
1050602 ใช้งานแขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom) 1. ถือก้านบูมกับไมโครโฟนและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมได้ถูกต้องตรงตามวิธีการถือ 1050602.01 138942
1050602 ใช้งานแขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom) 2. ถือก้านบูมกับไมโครโฟน และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมขณะกล้องกำลังเคลื่อนได้ถูกต้องตรงตามวิธีการถือ 1050602.02 138943
1050602 ใช้งานแขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom) 3. บังคับ ก้านบูมกับไมโครโฟน และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมได้ถูกต้องตามทิศทางที่Sound Recordist กำหนด 1050602.03 138944
1050602 ใช้งานแขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom) 4. บังคับก้านบูมกับไมโครโฟน และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมไปยังตำแหน่งที่กำหนดในเฟรมภาพได้ถูกต้องตรงตามวิธีการถือ 1050602.04 138945
1050602 ใช้งานแขนยื่น (Boom), ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับแขนยื่น (Boom) 5. บังคับก้านบูมกับไมโครโฟน และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมขณะวัตถุ(Object) กำลังเคลื่อนที่ในเฟรมภาพได้ถูกต้องตรงตามวิธีการถือ 1050602.05 138946

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะทางการติดตั้งอุปกรณ์ก้านบูมไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูม

2. ทักษะการถือ ปรับ บังคับอุปกรณ์ก้านบูมไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูม


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับก้านบูมไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน )Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

   2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

   2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติงานใช้ก้านบูม, ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

   1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการอ่าน พูด และเขียนศัพท์เฉพาะทางในแผนกเสียงได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

   2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการติดตั้ง และใช้งานก้านบูม, ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. ก้านบูมหมายถึง ก้านสำหรับยึดติด ไมค์ที่ใช้ในการอัดเสียงภาพยนตร์ เช่น ไมค์ Shot Gun

   2. ไมโครโฟนสำหรับงานถ่ายทำภาพยนตร์ หมายถึง ไมค์ที่ใช้ในการอัดเสียงภาพยนตร์ เช่น ไมค์ Shot Gun

  3. อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับก้านบูมหมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการกรอกเสียง เช่น Blimp

 

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมิน 

  1) แบบทดสอบข้อเขียน

  2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

2. เครื่องมือประเมิน

  1) แบบทดสอบข้อเขียน

  2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

 




ยินดีต้อนรับ