หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการคุณภาพงานก่อสร้างอาคารตามแผนงาน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-PMC-5-014ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการคุณภาพงานก่อสร้างอาคารตามแผนงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ควบคุมการก่อสร้าง  ชั้น 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงความรู้และทักษะที่จำเป็นของอาชีพผู้ควบคุมการก่อสร้างในการจัดทำแผนควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัยควบคุมการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างอาคารตัดสินใจ สั่งการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพในงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพก่อสร้าง  อาชีพผู้ควบคุมการก่อสร้าง 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
501031 จัดทำแผนควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย 1.1 จัดทำแผนงานหลักในการจัดการคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัยได้ตรงตามข้อกำหนดในสัญญา 501031.01 135499
501031 จัดทำแผนควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย 1.2 นำแผนงานหลักไปใช้ในการจัดการคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัยได้ตามวัตถุประสงค์ 501031.02 135500
501031 จัดทำแผนควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย 1.3 จัดทำแผนหลักการจัดการคุณภาพงานก่อสร้างได้ถูกต้องครบถ้วน 501031.03 135501
501032 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย 2.1 ดำเนินการตรวจสอบควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัยได้คุณภาพตามข้อกำหนดในสัญญา 501032.01 135502
501032 ควบคุมการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย 2.2 ติดตามตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างร่วมกันทำงานได้สำเร็จตามแผนงาน 501032.02 135503
501033 ตัดสินใจ สั่งการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพในงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย 3.1 ควบคุมดูแลการแก้ไขผลงานก่อสร้างอาคารพักอาศัยได้ตามขั้นตอน 501033.01 135504
501033 ตัดสินใจ สั่งการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพในงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย 3.2 จัดทำข้อมูลผลการติดตามแก้ไข ตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างอาคารพักอาศัยได้ถูกต้องครบถ้วน ทันเวลา 501033.02 135505

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะด้านการควบคุมงานก่อสร้าง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- จัดการคุณภาพงานก่อสร้างอาคารตามแผนงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- แสดงความรู้เรื่องเทคนิคการก่อสร้างงานโครงสร้าง, งานสถาปัตยกรรมและงานระบบ



- แสดงความรู้เรื่องการตรวจสอบคุณภาพการก่อสร้างงานโครงสร้าง, งานสถาปัตยกรรมและงานระบบ



- แสดงความรู้เรื่องภาวะผู้นำในการตัดสินใจ สั่งการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพในงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



- ปฏิบัติการจัดการคุณภาพงานก่อสร้างอาคารตามแผนงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



- ใบบันทึกขั้นตอนการทำแผนงานและโครงการก่อสร้าง



- ใบบันทึกวิธีการสร้างเครื่องมือตรวจสอบ ติดตาม ประเมินการทำงานและคุณภาพงานก่อสร้าง



คำแนะนำในการประเมิน



1) ความรู้และทักษะที่จำเป็น



2) วิธีการปฏิบัติงาน



วิธีการประเมิน



ประเมินจากการทำแบบทดสอบหรือ แบบสัมภาษณ์หรือแบบแสดงผลการปฏิบัติงานหรือ แบบบันทึกการตรวจสอบเอกสาร หรือแบบประเมินสมรรถนะด้วยวิธีการประเมินผลงานจากบุคคลที่ 3



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำแนะนำ



ขอบเขต (Range Statement) ของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ซึ่งจะระบุในเรื่ององค์ประกอบ ขั้นตอนการทำแผนงานและโครงการก่อสร้างการก่อสร้างงานโครงสร้าง, งานสถาปัตยกรรมและงานระบบ



คำอธิบายรายละเอียด



- การทำแผนงานและโครงการก่อสร้าง



- เทคนิคการก่อสร้างงานโครงสร้าง, งานสถาปัตยกรรมและงานระบบ



         - วิธีการสร้างเครื่องมือตรวจสอบ ติดตาม ประเมินการทำงานและคุณภาพงานก่อสร้าง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมิน



             1) การสอบข้อเขียน หรือ



             2) การใช้วิธีการสัมภาษณ์ หรือ



             3) แบบแสดงผลการปฏิบัติงาน (แบบบันทึกการตรวจสอบเอกสาร) หรือ



             4) แบบประเมินสมรรถนะด้วยวิธีการประเมินผลงานจากบุคคลที่ 3



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 



 



 



ยินดีต้อนรับ