หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการงานสร้างแม่พิมพ์ด้วยเครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ (CTP, CTcP) เบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-1-022ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการงานสร้างแม่พิมพ์ด้วยเครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ (CTP, CTcP) เบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ไม่ระบุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201071 ควบคุมและใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ 1. ปฏิบัติงานโปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์บนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง 201071.01 75830
201071 ควบคุมและใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ 2. เลือกชนิด ขนาดและความหนาของแม่พิมพ์ให้ถูกต้องกับงานที่กำหนด 201071.02 75833
201071 ควบคุมและใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ 3. ป้อนแม่พิมพ์เข้าสู่เครื่องสร้างแม่พิมพ์ (rasterring ) และนำไปผ่านกระบวนการสร้างภาพ (processing) ได้อย่างถูกต้อง 201071.03 75834
201071 ควบคุมและใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ 4. สามารถเจาะแม่พิมพ์ให้ถูกต้องกับเครื่องพิมพ์ที่จะนำไปใช้งาน 201071.04 75835
201072 ดูแลรักษาเครื่องสร้างแม่พิมพ์เบื้องต้น 1. ดูแลรักษาเครื่องสร้างแม่พิมพ์ให้ถูกต้องตามคู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษา 201072.01 75831
201073 จัดเตรียมแม่พิมพ์ให้พร้อมก่อนส่งมอบลูกค้า 1. จัดเตรียมแม่พิมพ์ให้พร้อมก่อนส่งมอบ 201073.01 75832

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ใช้โปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์
2. การเลือกชนิด ขนาดแม่พิมพ์ วิธีการป้อนแม่พิมพ์เข้าสู่เครื่องสร้างแม่พิมพ์ และการนำไปผ่านกระบวนการสร้างภาพ (processing)
3. การเจาะให้ตรงตามลักษณะของเครื่องพิมพ์
4. ผลิตแม่พิมพ์ออกมามีคุณภาพ และการปฏิบัติงานมีความปลอดภัย
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานดูแลรักษาเครื่องสร้างแม่พิมพ์
6. การตรวจความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์
7. การจัดเตรียมแม่พิมพ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. โปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์บนคอมพิวเตอร์
2. ขนาดของงาน ชนิด ขนาดแม่พิมพ์
3. วิธีการใช้เครื่องสร้างแม่พิมพ์และกระบวนการสร้างภาพ (processing)
4. ลักษณะตัวยึดและการเจาะแม่พิมพ์
5. วิธีการดูแลรักษาเครื่องสร้างแม่พิมพ์
6. วิธีการเตรียมแม่พิมพ์ก่อนส่งมอบลูกค้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
  1. แม่พิมพ์ที่ผลิตออกมา หรือหลักฐานการบันทึกวีดีโอ ผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน กระบวนการใช้โปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์ การเลือกชนิด ขนาดแม่พิมพ์ วิธีการป้อนแม่พิมพ์เข้าสู่เครื่องสร้างแม่พิมพ์ ตลอดกระบวนการสร้างภาพ (processing) วิธีการเจาะแม่พิมพ์
  2. สภาพเครื่องสร้างแม่พิมพ์ก่อนและหลังการใช้งาน หรือหลักฐานการบันทึกวีดีโอ ผลจากการสังเกตการณ์ในการกระบวนการดูแลรักษาเครื่องสร้างแม่พิมพ์
  3. สภาพแม่พิมพ์สำเร็จ หีบห่อแม่พิมพ์ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการกระบวนการจัดเตรียมแม่พิมพ์ก่อนส่งมอบลูกค้า ความระมัดระวัง และความปลอดภัย
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
  ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
  การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพร้อมใช้งาน
(ง) วิธีการประเมิน
ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. โปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์บนคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมริบไฟล์ (RIP, raster image processor) เพื่อสร้างภาพบนแม่พิมพ์
2. ชนิดของแม่พิมพ์ ได้แก่ แม่พิมพ์ที่ใช้ลำแสงเลเซอร์สีม่วง (violet plate )แม่พิมพ์ที่ใช้กับลำแสงความร้อน (thermalplate) แม่พิมพ์ที่ใช้ลำแสงยูวี ( conventional plate ) เป็นต้น
3. ขนาดที่นิยมใช้กำหนดขนาดกว้างและยาวของแม่พิมพ์ เช่น ขนาดแม่พิมพ์ที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
4. กระบวนการสร้างภาพ (processing) ได้แก่ การเกิดภาพ โดยมีกระบวนการทางเคมีและการชะล้างเข้ามาเกี่ยวข้อง
5. เจาะแม่พิมพ์ ได้แก่ การเจาะรูแม่พิมพ์เพื่อให้เกี่ยวเข้ากับอุปกรณ์จับยึดแม่พิมพ์บนเครื่องพิมพ์แต่ละยี่ห้อ เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงของสีขณะทำการพิมพ์
6. เจาะแม่พิมพ์ ได้แก่ การเจาะรูแม่พิมพ์เพื่อให้เกี่ยวเข้ากับอุปกรณ์จับยึดแม่พิมพ์บนเครื่องพิมพ์แต่ละยี่ห้อ เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงของสีขณะทำการพิมพ์
7. การดูแลรักษาเบื้องต้น ได้แก่ ความสะอาด ความปลอดภัยในการทำงาน และการตรวจสภาพของเครื่อง น้ำยาเคมี และส่วนต่อพ่วงให้พร้อมในการใช้งาน
8. การตรวจความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์ ได้แก่ สภาพภายนอกของแม่พิมพ์ต้องไม่เกิดความเสียหาย และอยู่ในสภาพที่นำไปใช้งานต่อได้
9. การจัดเตรียมแม่พิมพ์ให้พร้อมก่อนส่งมอบ ได้แก่ การจัดเรียงลำดับ การห่อแม่พิมพ์ การรักษาผิวหน้าแม่พิมพ์ และการใส่อุปกรณ์แผ่นรองหรือตัวป้องกันความเสียหาย
(ก) คำแนะนำ
N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
  N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ