หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานวางหน้าเลย์เอาท์และงานดิจิทัลปรู๊ฟเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-1-020ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานวางหน้าเลย์เอาท์และงานดิจิทัลปรู๊ฟเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ไม่ระบุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201041 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้าสิ่งพิมพ์เบื้องต้น 1. ใช้โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง 201041.01 74960
201041 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้าสิ่งพิมพ์เบื้องต้น 2. นำเข้าไฟล์ดิจิทัลสู่โปรแกรมวางหน้า (input file) ได้อย่างถูกต้อง 201041.02 74963
201041 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้าสิ่งพิมพ์เบื้องต้น 3. กำหนดขนาดแม่พิมพ์และระยะกริปเปอร์ ให้ตรงกับชนิดของเครื่องที่นำมาพิมพ์งาน 201041.03 74964
201041 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้าสิ่งพิมพ์เบื้องต้น 4. กำหนดขนาดและชนิดของวัสดุใช้พิมพ์ได้อย่างถูกต้อง 201041.04 74965
201041 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้าสิ่งพิมพ์เบื้องต้น 5. ตรวจรูปแบบการวางหน้าบนแม่พิมพ์ การกลับกระดาษเข้าเครื่องพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ ให้ตรงกับใบสั่งงานหรือความต้องการของลูกค้า 201041.05 74966
201042 ปฏิบัติการวางหน้าเลย์เอาท์และงานหลังพิมพ์ 1. นำไฟล์อิเล็กทรอนิกส์มาจัดเรียงบนต้นแบบ (template) ได้ตรงตามลักษณะงานหลังพิมพ์และความต้องการของลูกค้า 201042.02 74961
201042 ปฏิบัติการวางหน้าเลย์เอาท์และงานหลังพิมพ์ 2. ตั้งค่าเผื่อตัด การตัดเจียนรูปเล่มได้อย่างถูกต้อง 201042.01 74967
201043 ปฏิบัติงานการใส่แถบควบคุม 1. ปฏิบัติงานใส่แถบสีควบคุม (color bar) ให้ถูกต้องตามเครื่องพิมพ์ 201043.01 74962

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. การใช้โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์บนคอมพิวเตอร์
2. การกำหนดขนาดแม่พิมพ์และกริปเปอร์ต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์
3. การเลือกขนาดของวัสดุใช้พิมพ์ที่จะนำมาพิมพ์
4. การนำไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเรียงบนต้นแบบ (template)
5. การตั้งค่าเผื่อตัด การตัดเจียนรูปเล่ม
6. จัดการใส่แถบสีควบคุม (color bar)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์
2. ขนาดแม่พิมพ์และกริปเปอร์เครื่องพิมพ์
3. ขนาด และชนิดของวัสดุที่จะนำมาพิมพ์
4. รูปแบบการวางหน้าบนแม่พิมพ์ การกลับกระดาษเข้าเครื่องพิมพ์
5. โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์ระดับเบื้องต้น
6. ลักษณะงานหลังพิมพ์
7. แถบสีควบคุม (color bar)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
หลักฐานการบันทึกวีดีโอ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน การใช้โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ การกำหนดขนาดแม่พิมพ์และกริปเปอร์เครื่องพิมพ์การเลือกขนาด ชนิดของวัสดุที่จะนำมาพิมพ์
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพร้อมใช้งาน
(ง) วิธีการประเมิน
ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. ใช้งานโปรแกรมการวางหน้างานพิมพ์ ได้แก่ รู้และสามารถใช้คำสั่งพื้นฐาน เช่น เมนู แถบเครื่องมือ ในการวางหน้างานพิมพ์
2. ไฟล์ดิจิทัล เช่น ไฟล์ PS, PDF
3. ระยะกริปเปอร์ยึดแม่พิมพ์ คือ ระยะยึดของแม่พิมพ์กับโมแม่พิมพ์
4. กริปเปอร์จับกระดาษ ได้แก่ ระยะเว้นของอุปกรณ์การจับวัสดุใช้พิมพ์เข้าเครื่องแต่ละยี่ห้อ มีรูปแบบและพื้นที่การยึดจับงานที่แตกต่างกัน
5. ขนาดที่นิยมมาใช้กำหนดขนาดของงานพิมพ์ เช่น นิ้ว และมิลลิเมตร
6. ชนิดของกระดาษที่ใช้สำหรับงานทางด้านการพิมพ์ ได้แก่ กระดาษไม่เคลือบผิว (กระดาษปอนด์) กระดาษที่เคลือบผิวหน้าที่ผ่านการขัดหน้ารูปแบบต่าง ๆ (อาร์ตมัน อาร์ตด้าน) เป็นต้น
7. รูปแบบการกลับกระดาษของวัสดุใช้พิมพ์เข้าเครื่อง ได้แก่ การกลับนอก กลับในตัว หรือการกลับกระดก เป็นต้น
8. ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟล์ PDF, EPS, PS
9. งานหลังพิมพ์ ได้แก่ การพับ การตัด การเผื่อเจียน รูปแบบการเก็บเล่ม งานปั๊มขาด การดุนนูน
10. การเผื่อตัด เผื่อเจียน ได้แก่ การตัด และตกแต่งชิ้นงานตามขนาดและรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ
11. แถบสีควบคุม (color bar) ได้แก่ แถบช่องสีสำหรับตรวจวัดเพื่อควบคุณปริมาณการปล่อยสีขณะพิมพ์งาน
12. การใส่แถบสีควบคุม คือการวางแถบสีควบคุม ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ได้
(ก) คำแนะนำ
N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



 


ยินดีต้อนรับ