หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลทำความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-3-122ZC

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลทำความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ผู้ดูแลผู้สูงอายุ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้มีความรู้และทักษะในการทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำและการช่วยเหลือในด้านการขับถ่าย และการทำความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ไม่ระบุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 1. ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงอย่างถูกวิธีและปลอดภัย 20103.01.01 101205
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 2. สังเกตและป้องกันความผิดปกติบริเวณผิวหนังส่วนต่างๆของผู้สูงอายุและรายงานผลให้หัวหน้างานรับทราบได้ 20103.01.02 101206
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 3. ทำความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม 20103.01.03 101207
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 4. สนับสนุนให้ผู้สูงอายุใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดร่างกายตนเองได้อย่างสะดวกและปลอดภัย 20103.01.04 101208
20103.01 ทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 5. ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถส่งเสริมผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้างให้ทำความสะอาดร่างกายบนเตียง 20103.01.05 101209
20103.02 ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 1. จัดท่าที่เหมาะสมและสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการทำความสะอาดช่องปาก 20103.02.01 101210
20103.02 ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 2. ทำความสะอาดฟันปลอมของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 20103.02.02 101211
20103.02 ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 3. ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุและปลอดภัย โดยไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 20103.02.03 101212
20103.02 ทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุได้อย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก 4.สังเกตสิ่งผิดปกติในช่องปากของผู้สูงอายุและสามารถรายงานสิ่งผิดปกติให้หัวหน้างานรับทราบอย่างครบถ้วนถูกต้อง 20103.02.04 101213
20103.03 ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 1. พยุงผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีและปลอดภัยเพื่อเคลื่อนย้ายไปทำความสะอาดศีรษะ 20103.03.01 101214
20103.03 ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 2. ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุบนเตียง 20103.03.02 101215
20103.03 ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 3. ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุตามระยะเวลาที่เหมาะสม 20103.03.03 101216
20103.03 ทำความสะอาดศีรษะของผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 4. เลือกแชมพูที่ใช้สระผมของผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสภาพศีรษะและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง 20103.03.04 101217
20103.04 ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิง เพศชายทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิง เพศชาย 1. จัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ได้ 20103.04.01 101218
20103.04 ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิง เพศชายทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิง เพศชาย 2. จัดท่าผู้สูงอายุในการขับถ่ายบนเตียงได้ 20103.04.02 101219
20103.04 ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิง เพศชายทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิง เพศชาย 3. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ได้ 20103.04.03 101220
20103.04 ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิง เพศชายทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ เพศหญิง เพศชาย 4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ผ่านการใช้งานอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย 20103.04.04 101221
20103.05 ดูแลผู้สูงอายุที่ใช้ผ้าอ้อมให้ได้รับความสุขสบาย 1. จัดท่าของผู้สูงอายุได้ถูกวิธีในการเปลี่ยนผ้าอ้อม 20103.05.01 101222
20103.05 ดูแลผู้สูงอายุที่ใช้ผ้าอ้อมให้ได้รับความสุขสบาย 2. เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี 20103.05.02 101223

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ไม่มี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

   1. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดผม

   2. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปาก

   3. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอากอวัยวะสืบพันธุ์

   4. ความรู้เกี่ยวกับการพาไปอาบน้ำ

   5. ความรู้เกี่ยวกับการอาบน้ำบนเตียง

   6. ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมผู้ใหญ่

   7. ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแผ่นรองซับปัสสาวะ

   8. ความรู้เกี่ยวกับการขับถ่ายโดยใช้อุปกรณ์



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

  (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      ไม่มี

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง

      2. ผลการทดสอบความรู้

      3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

      4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

  (ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

  (ง) วิธีการประเมิน

     1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

    2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. การทำความสะอาดผม หมายถึง การสระล้างผมเพื่อกำจัดสิ่งสกปรก ไขมัน และเชื้อโรคที่สะสมที่หนังศีรษะ กระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนโลหิตบริเวณหนังศีรษะ กระตุ้นต่อมไขมันให้ขับไขมันมาหล่อเลี้ยงเส้นผม นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสบายตัว

    2. การทำความสะอาดช่องปาก หมายถึง การดูแลทำความสะอาดโดยการแปรงฟัน อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง รวมไปถึงการเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันจากทันตแพทย์ทุก 3-6 เดือนอีกด้วย นอกจากการดูแลสุขภาพฟันแล้ว จะต้องดูแลในส่วนของลิ้น กระพุ้งแก้ม และเพดานปาก อีกด้วย

    3. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หมายถึงการจัดการกับความสกปรกซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถทำความสะอาดด้วยตัวเองได้

    4. การพาไปอาบน้ำ หมายถึงผู้สูงอายุบางคนสามารถเคลื่อนย้ายตัวไปห้องน้ำโดยรถเข็นนั่ง หรืออุปกรณ์ช่วยเดิน และอาบน้ำได้เอง ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือได้ตามความเหมาะสม เช่น การเตรียมเก้าอี้สำหรับให้นั่งอาบน้ำ เตรียมสบู่ ผ้าเช็ดตัวและเสื้อผ้าให้

    5. การอาบน้ำบนเตียง หมายถึง การอาบน้ำที่ผู้สูงอายุไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด ผู้ดูแลต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมด เช่นในผู้สูงอายุที่ไม่รู้สึกตัวผู้สูงอายุที่อ่อนเพลียไม่มีแรงหรือผู้สูงอายุที่จำกัดการเคลื่อนไหว เป็นต้น ซึ่งผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมดหรือให้การช่วยเหลือในบางส่วน เช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเช็ดตัวด้วยตนเองได้อย่างสะดวก

    6.การเปลี่ยนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ หมายถึง การเปลี่ยนสิ่งที่ใช้รองสิ่งปฏิกูลของผู้สูงอายุที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้

    7. การขับถ่ายโดยใช้อุปกรณ์ หมายถึง การขับถ่ายสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพไม่สามารถขับถ่ายด้วยตัวเองได้ โดยต้องใช้อุปกรณ์เสริม อาทิ หม้อนอนถ่ายอุจจาระ สายสวน ถุงอุจจาระทางหน้าท้อง เป็นต้น



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ