หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-179ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปลูกอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย ประกอบด้วยการเตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย การบริการเครื่องปลูกอ้อย และการซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยเบื้องต้น          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย สามารถเตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย โดยศึกษาวิธีและระยะบริการ รวมทั้งวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมเครื่องเตรียมดินจากคู่มือประจำเครื่อง สามารถบริการเครื่องปลูกอ้อย โดยบริการเครื่องปลูกอ้อยตามคู่มือกำหนดและใช้เครื่องมือถูกต้องและปลอดภัย สามารถซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยเบื้องต้น โดยวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อตัดสินใจซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อย และซ่อมแซมในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษได้ มีทักษะทางเทคนิคในการทำงานสามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B231 เตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย 1.1 ศึกษาวิธีและระยะบริการจากคู่มือประจำเครื่องปลูกอ้อย B231.01 100739
B231 เตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย 1.2 ศึกษาวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยจากคู่มือประจำเครื่อง B231.02 100740
B232 บริการเครื่องปลูกอ้อย 2.1 บริการเครื่องปลูกอ้อยตามคู่มือกำหนด B232.01 100741
B232 บริการเครื่องปลูกอ้อย 2.2 ใช้เครื่องมือถูกต้องและปลอดภัย B232.02 100742
B233 ซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยเบื้องต้น 3.1 วิเคราะห์ปัญหาความเสียหายเพื่อตัดสินใจซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อย B233.01 100743
B233 ซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยเบื้องต้น 3.2 ซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ B233.02 100744

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

กรณีใช้เครื่องปลูกอ้อยที่ติดพ่วงกับรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็นคือ

          B12 ซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้เครื่องมือช่างอย่างปลอดภัย

2. การวิเคราะห์ปัญหา

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. จุดตรวจและวิธีบริการเครื่องปลูกอ้อย

2. จุดที่เกิดปัญหาบ่อยๆ ของเครื่องปลูกอ้อย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การเตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกอ้อย คือการศึกษาวิธีและระยะบริการเครื่องปลูกอ้อย รวมทั้งวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมจากคู่มือประจำเครื่อง เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อคงสภาพอายุใช้งานของเครื่องปลูกอ้อย



               2. การบริการเครื่องปลูกอ้อย คือการบำรุงรักษาเครื่องปลูกอ้อยตามชั่วโมงทำงานที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด โดยศึกษาจุดที่ต้องบริการ วิธีปฏิบัติ และชั่วโมงทำงานได้จากคู่มือประจำเครื่อง และมีการใช้เครื่องมือบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย



               3. การซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยเบื้องต้น คือการวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายของเครื่องปลูกอ้อย เพื่อตัดสินใจซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ เช่น การปรับตั้งเครื่องยนต์ การปรับความตึงหรือเปลี่ยนสายพาน การลับใบมีดตัดท่อนอ้อยในเครื่องปลูก หรือเปลี่ยนใบมีดใหม่ การตรวจซ่อมส่วนที่ชำรุด หลุด หลวม ขันนอตให้แน่น เพื่อให้เครื่องปลูกอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยศึกษาวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมเครื่องปลูกอ้อยจากคู่มือประจำเครื่อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน



          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน



          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ