หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญให้เป็นไปตามสัญญาจ้าง

สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SEC-VGP-5-005ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญให้เป็นไปตามสัญญาจ้าง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO รหัส 5414 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.)
ISCO รหัส 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าคุมงานรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 5414 หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ในการเตรียมการอารักขาบุคคลสำคัญ ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างจะต้องวางแผนกำลังพลอารักขาบุคคลสำคัญ ให้ตรงตามสัญญาจ้าง จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอารักขาบุคคลสำคัญให้ตรงตามสัญญาจ้าง กำหนดและมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญรายบุคคล และควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอารักขาบุคคลสำคัญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอารักขาบุคคลสำคัญ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 25582. หนังสือสัญญาระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04111 การวางแผนกำลังพลอารักขาบุคคลสำคัญให้ตรงตามสัญญาจ้าง 1. กำหนดจำนวนกำลังพลและการวางกำลังอย่างถูกต้องครบถ้วนตรงตามสัญญาว่าจ้างได้ถูกต้องและครบถ้วน 04111.01 99796
04111 การวางแผนกำลังพลอารักขาบุคคลสำคัญให้ตรงตามสัญญาจ้าง 2. คัดเลือกกำลังพลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมกับลักษณะงานตามสัญญาจ้างได้ถูกต้องและครบถ้วน 04111.02 99797
04112 จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอารักขาบุคคลสำคัญให้ตรงตามสัญญาจ้าง 1. ระบุเครื่องมืออุปกรณ์ และวิธีการใช้ ประจำตัวบุคคลและประจำพื้นที่ปฏิบัติงานให้ตรงตามสัญญาจ้างได้ถูกต้องครบถ้วน 04112.01 99798
04112 จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอารักขาบุคคลสำคัญให้ตรงตามสัญญาจ้าง 2. บำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ประจำบุคคลและประจำพื้นที่ปฏิบัติงานได้ถูกต้องครบถ้วน 04112.02 99799
04113 กำหนดและมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญรายบุคคล 1. ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญรายบุคคลได้ระบุไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน 04113.01 99800
04113 กำหนดและมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญรายบุคคล 2. กำหนดขอบเขตการตัดสินใจในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญรายบุคคลในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 04113.02 99801
04114 ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอารักขาบุคคลสำคัญ 1. ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญได้ถูกต้องครบถ้วน 04114.01 99802
04114 ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอารักขาบุคคลสำคัญ 2. ติดตามแก้ไขการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของสัญญาว่าจ้างได้ถูกต้องครบถ้วน 04114.02 99803

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ความรู้เกี่ยวกับการอารักขาบุคคลสำคัญ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. การบริหารจัดการบริษัทรักษาความปลอดภัย
2. การรวบรวม วางแผน และการซักซ้อมแผนการอารักขาบุคคลสำคัญ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
2. ข้อกำหนดการให้บริการรักษาความปลอดภัยตามหนังสือสัญญาระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง
3. ข้อกำหนดของขั้นตอนและวิธีการอารักขาบุคคลสำคัญ
4. ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. สัญญาว่าจ้างระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง
2. รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานการอารักขาบุคคลสำคัญ
(ข) หลักฐานด้านความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ปริญญาบัตร/ใบรับรองการผ่านงานด้านการอารักขาบุคคลสำคัญ
2. วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อารักขาบุคคลสำคัญในการปฏิบัติงาน
3. ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานอารักขาบุคคลสำคัญ
4. เอกสารรวมเล่มการปฏิบัติงานการอารักขาบุคคลสำคัญ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. กำหนดจำนวนกำลังพลและคัดเลือกเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญให้ตรงตามลักษณะงานของเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาว่าจ้าง
2. กำหนดและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญโดยระบุอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และขอบเขตการตัดสินใจของ เจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญ
3. จัดเตรียมและบำรุงรักษาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประจำตัวบุคคลและประจำพื้นที่ปฏิบัติงานให้ตรงข้อตกลงตามสัญญาว่าจ้างการอารักขาบุคคลสำคัญ
4. ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญ
5. แก้ไขการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของสัญญาว่าจ้างอารักขาบุคคลสำคัญ
(ก) คำแนะนำ
การจัดเตรียมพนักงานรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญต้องเป็นไปตามเอกสารประกอบการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างและตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัยกำหนด
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานอารักขาบุคคลสำคัญประกอบด้วย เครื่องมือประจำพื้นที่การปฏิบัติงานที่ใช้ในการอารักขาบุคคลสำคัญเช่น อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุโลหะแบบมือถือ และแบบเดินผ่าน โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือการประเมิน
  1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
18.2 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
18.3 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
18.4 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ