สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์ สาขางานหลังพิมพ์
PRT-AFP-2-017ZA
เตรียมและตรวจสอบเครื่องดายคัตให้พร้อมใช้งาน
N/A
✔
ช่างดายคัต
มีความรู้
ความสามารถ
และทักษะในตรวจสอบวัสดุที่เตรียมไว้สำหรับการปั๊มด้วยเครื่องดายคัตให้ถูกต้องตามใบสั่งงานและพร้อมใช้งาน
การเตรียมและตรวจสอบแท่นวางชิ้นงาน (หน้าโมหรือเขียง) ให้มีสภาพเรียบร้อย สะอาด
และพร้อมปั๊มงาน การเตรียมและปรับตั้งเครื่องดายคัตให้พร้อมปั๊มงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
การปั๊มทำชิ้นงานต้นแบบและทดลองขึ้นรูปเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและใช้เป็นต้นแบบสำหรับเทียบคุณภาพให้กับชิ้นงานที่จะปั๊มจริง
2
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์
N/A
N/A
406031 ตรวจสอบวัสดุและแท่นวางชิ้นงานให้พร้อมสำหรับการปั๊มด้วยเครื่องดายคัต
1.1 ตรวจสอบข้อมูลในใบสั่งงานด้านความครบถ้วนและความถูกต้องของลำดับขั้นตอนงานปั๊มและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 ตรวจสอบวัสดุที่เตรียมไว้สำหรับการปั๊มทั้งชนิด ขนาดและจำนวนวัสดุให้ถูกต้องตามใบสั่งงานและพร้อมใช้งาน
1.3 ตรวจสอบแท่นวางชิ้นงาน (หน้าโมหรือเขียง) ให้มีสภาพเรียบร้อยสะอาด และพร้อมวางชิ้นงานเข้าปั๊ม
406032 ปรับตั้งเครื่องดายคัตให้พร้อมใช้งาน
2.1 ติดตั้งบล็อกที่จะใช้ปั๊มในเครื่องดายคัตแบบป้อนมือและแบบอัตโนมัติให้พร้อมใช้งานได้อย่างชำนาญและถูกต้อง
2.2 ติดเส้นพับบนหน้าโมได้อย่างถูกต้องตรงกับบล็อกโดยให้รอยเส้นพับและระยะห่างของร่องเส้นพับถูกต้องและเหมาะสมกับความหนาชิ้นงานที่จะปั๊ม
2.3 ปรับตั้งแรงกดของเครื่องดายคัตให้ปั๊มได้ถูกต้อง
2.4 ปรับตั้งฉากของเครื่องดายคัตให้ปั๊มได้ถูกต้อง
2.5 ปรับตั้งเครื่องดายคัตให้พร้อมใช้งานและปลอดภัย
406033 ปั๊มทำชิ้นงานต้นแบบด้วยเครื่องดายคัตและทดลองขึ้นรูปเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนปั๊มจริง
3.1 ปั๊มทำชิ้นงานต้นแบบด้วยเครื่องดายคัตและทดลองขึ้นรูปได้ถูกต้องตามตัวอย่างชิ้นงานในใบสั่งงาน
3.2 ตรวจสอบความถูกต้อง (เช็คแบบ)ของชิ้นงานต้นแบบให้ตรงตามตัวอย่างชิ้นงานม็อกอัปในใบสั่งงานและสามารถนำไปใช้เทียบคุณภาพเมื่อมีการปั๊มชิ้นงานจริงได้
มีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ
คือ มัธยมการศึกษาปีที่ 3
มีประสบการณ์ทำงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
และผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างดายคัต ชั้น 1 มาแล้ว พูด อ่าน
และเขียนภาษาไทยเพื่อสื่อสารได้เข้าใจ
ผ่านหน่วยสมรรถนะ
40601 ปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตขั้นพื้นฐาน
ผ่านหน่วยสมรรถนะ
40602 บำรุงรักษาเครื่องปั๊มดายคัตเบื้องต้นและใช้งานอย่างปลอดภัย
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
1. ความสามารถในการตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ
ในการปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต
2. ความสามารถในการปรับตั้งเครื่องเพื่อปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต
(ข)
ความต้องการด้านความรู้
1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุต่าง ๆ
เกี่ยวกับงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต
2. ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบและลักษณะการทำงานของเครื่องดายคัต
3.
ความรู้เกี่ยวกับการปรับตั้งเครื่องดายคัตให้พร้อมใช้งานและปลอดภัย
4. ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งบล็อคที่จะใช้ปั๊มในเครื่องดายคัต
5. ความรู้เกี่ยวกับการทำชิ้นงานต้นแบบและขึ้นรูปชิ้นงาน
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน
(Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ
(Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance
Evidence)
1. ผลการสอบข้อเขียน
2. บันทึกรายการจากการสัมภาษณ์
3. บันทึกรายการจากการสังเกต
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge
Evidence)
1.
แบบทดสอบข้อเขียน
2.
แบบสัมภาษณ์
3.
แบบสังเกตการปฏิบัติงาน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
มีการสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ การสังเกตการปฏิบัติงาน
โดยให้ปฏิบัติตามแบบทดสอบที่กำหนด
(ง) วิธีการประเมิน
1.
ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์
2.
การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงานตามแบบทดสอบปฏิบัติที่กำหนด
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน
และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ
อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. การตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ให้ถูกต้อง ครบถ้วน
และพร้อมใช้งานทั้งชนิด ขนาด และจำนวนวัสดุได้แก่ ชิ้นงานรอดายคัต
ตัวอย่างงานในใบสั่งงานหรือม็อคอัป ใบสั่งงาน ฟิล์มตรวจงาน บล็อกดายคัต
บล็อกปั๊มนูน/ปั๊มจม กาว กระดาษติดเส้นพับ ฟองน้ำ ยางรองดายคัต คัตเตอร์
และชิ้นงานต้นแบบ
ซึ่งเป็นชิ้นงานชิ้นแรกที่ได้จากการทดลองปั๊มและขึ้นรูปแล้วมีคุณภาพตรงกับม็อคอัป
(first unit)
2. ตรวจสอบวัสดุที่เตรียมไว้สำหรับการปั๊มให้ถูกต้องตามใบสั่งงานและพร้อมใช้งาน
1)
ตรวจสอบชิ้นงานกระดาษและแผ่น กระดาษลูกฟูกทั้งชนิด น้ำหนักพื้นฐาน
ขนาด
และฉากและทิศทางที่จะป้อนเข้าเครื่องให้ถูกต้องตามใบสั่งงานและตัวอย่างชิ้นงาน
2)
ตรวจสอบสภาพของบล็อคดายคัตด้านความแข็งแรง สภาพใบมีด
ตำแหน่งการติดใบมีดแบบต่าง ๆ ให้ติดแน่นและถูกต้องตามตัวอย่างชิ้นงานในใบสั่งงาน
3)
ตรวจสอบสภาพของบล็อคตัวผู้และบล็อคตัวเมียสำหรับงานปั๊มนูน-ปั๊มจม
ให้ถูกต้องตามตัวอย่างชิ้นงานในใบสั่งงาน
4)
ตรวจสอบฟิล์มแบบทำบล็อคกับบล็อคให้ตำแหน่งรอยตัด รอยปรุ รอยพับ รอยปั๊มนูน-ปั๊มจมตรงกัน
5)
ตรวจสอบใบสั่งงานว่าระบุข้อมูลลำดับขั้นตอนการทำงานถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่
3. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งเครื่องตามคู่มือประจำเครื่อง คือ
ปรับตั้งเครื่องดายคัต โดยวิธีการไล่น้ำหนักหรือแรงกด ตั้งระยะอัดตัด
ระดับความนูน-ความจม ได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้พร้อมสำหรับการปั๊มชิ้นงานจริงให้ตรงกับชิ้นงานต้นแบบและตัวอย่างชิ้นงานม็อคอัปในใบสั่งงาน
1) ในเครื่องดายคัตป้อนมือ ปรับตั้งตำแหน่งฉากรับ (ฉากวางหรือฉากป้อน)
ชิ้นงานและระยะอัดตัดได้ถูกต้องi /i
2) ในเครื่องดายคัตอัตโนมัติ ปรับตั้งลูกกลิ้งสายพานดันกระดาษให้เข้าฉากหน้าและฉากข้าง
(ฉากโกย) ได้ถูกต้อง
N/A
N/A
1.
การสัมภาษณ์
2.
การทดสอบโดยข้อสอบ
3.
การสังเกตการปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน