สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย สาขาการจัดการของเสียอุตสาหกรรม อาชีพนักวิเคราะห์ของเสียอุตสาหกรรมในระดับห้องปฏิบัติการ ชั้น 5
มีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และได้รับการอบรมในการปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการเคมีและการการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน สามารถทำหน้าที่ทดสอบตัวอย่างของเสียเพื่อตรวจวัดสมบัติทางกายภาพและเคมีและจำแนกชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในตัวอย่างของเสีย มีความสามารถปฏิบัติงานประจำในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบของเสียอุตสาหกรรมในการเลือกวิธีทดสอบที่เหมาะสมกับตัวอย่าง มีทักษะการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ของเสียอุตสาหกรรมและสามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้ด้วยตนเองเพื่อปรับปรุง/พัฒนาวิธีทดสอบและเขียนวิธีปฏิบัติงาน จัดสถานที่และภาวะแวดล้อมของห้องปฏิบัติการให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย การจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล และดำเนินงานด้านวิชาการเพื่อสร้างความมั่นใจและความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ทดสอบตามมาตรฐานสากล มีทักษะเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รวมทั้งทักษะด้านการคิดและการสื่อสาร ทำงานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายถูกต้อง ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้ภาษาต่างประเทศได้ ถ่ายทอดความรู้ให้บุคคลอื่นได้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาและกำหนดกระบวนการทำงาน แผนงาน ประเมินผลการทำงานโดยพิจารณาครอบคลุมถึงผลกระทบในการทำงาน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
ผู้ที่เข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพสาขาการจัดการของเสียอุตสาหกรรม อาชีพนักวิเคราะห์ของเสียอุตสาหกรรมในระดับห้องปฏิบัติการ ชั้น 5 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ 2. ผ่านการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ ชั้น 4 ไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปีอย่างต่อเนื่อง 3. ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติด้านวิชาชีพ (Professional Profile) รวมกับการสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
นักวิเคราะห์ของเสียอุตสาหกรรมในระดับห้องปฏิบัติการ
(ข้อแนะนำเฉพาะสำหรับคุณวุฒิวิชาชีพนี้) NA.
ชั้น 1 | ชั้น 2 | ชั้น 3 | ชั้น 4 | ชั้น 5 | ชั้น 6 | ชั้น 7 |
---|---|---|---|---|---|---|