สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ สาขาธุรกิจจัดส่งพัสดุ
PUM-SHP-4-059ZA
บรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
✔
ผู้ปฏิบัติงานบรรจุหีบห่อและขนย้ายสินค้า
ISCO 9321 คนงานบรรจุผลิตภัณฑ์ด้วยมือ
ISCO 9333 คนงานขนถ่ายสินค้า
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคัดแยกสินค้าประเภทอันตรายเพื่อการบรรจุหีบห่อ การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการบรรจุหีบห่อ และการดำเนินการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
3
กลุ่มวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ สาขาธุรกิจจัดส่งพัสดุ
ไม่ระบุ
ไม่ระบุ
10604.01 คัดแยกสินค้าประเภทอันตรายเพื่อการบรรจุหีบห่อ
1. สินค้าประเภทอันตรายได้รับการวิเคราะห์แบ่งประเภทอย่างถูกต้องตามลักษณะของสินค้า
2. สินค้าประเภทอันตรายถูกคัดแยกอย่างถูกต้องตามลักษณะของสินค้า 3.เอกสารที่เกี่ยวกับสินค้าประเภทอันตรายมีการบันทึกอย่างถูกต้องตามข้อมูลของสินค้าและส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วนตาม ขั้นตอนที่กำหนด
10604.02 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
1.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อถูกเลือกใช้อย่างถูกต้องตามลักษณะของสินค้าอันตราย
2.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตรายมีการใช้ถูกต้องตามวิธีการใช้งานและตามลักษณะของสินค้าอันตราย
10604.03 ดำเนินการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
1.สินค้าอันตรายได้รับการบรรจุหีบห่อและติดเครื่องหมายเตือนอย่างถูกต้องและปลอดภัยในการขนย้ายตามลักษณะของสินค้า
2.เอกสารและรายงานการปฏิบัติงานบรรจุหีบห่อสินค้าอันตรายถูกจัดทำอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อมูลการบรรจุหีบห่อสินค้า
ไม่ระบุ
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
1.
ปฏิบัติการคัดแยกสินค้าประเภทอันตรายเพื่อการบรรจุหีบห่อ
2.
ปฏิบัติการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการบรรจุหีบห่อ
3.
ปฏิบัติการดำเนินการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
(ข) ความต้องการด้านความรู้
1.
ความรู้เกี่ยวกับสินค้าประเภทอันตราย
2.
ประเภทและการใช้งานอุปกรณ์การบรรจุหีบห่อ
3.
ความรู้เกี่ยวกับวัสดุในการบรรจุสินค้า
4.
ความรู้เกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อสินค้า
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกัน กับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance
Evidence)
1.
เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2.
เอกสารการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge
Evidence)
1.
เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
2.
เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ประเมินเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตรายโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งหลักฐาน การปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1.
พิจารณาหลักฐานความรู้
2.
พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
การบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการคัดแยกสินค้าประเภทอันตรายเพื่อการบรรจุหีบห่อ
การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการบรรจุหีบห่อ
การดำเนินการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1.
การคัดแยกสินค้าประเภทอันตรายเพื่อการบรรจุหีบห่อ จะต้องวิเคราะห์ คัดแยก
แบ่งประเภทสินค้าออกจากกลุ่ม เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำควรอยู่ในกล่องเดียวน้ำยาฉีดยุง
เป็นต้น มีการบันทึกเอกสารตามประเภทของสินค้าอันตราย
และดำเนินการส่งมอบเอกสารให้กับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด
2.
การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการบรรจุหีบห่อ
จะต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย เช่น
กล่องพลาสติก ลังไม้ เป็นต้น
และใช้วัสดุอุปกรณ์ในการบรรจุหีบห่อสินค้าได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด
3.
การดำเนินการบรรจุหีบห่อสินค้าอันตราย
จะต้องปฏิบัติงานบรรจุหีบห่อสินค้าให้ปลอดภัยในระหว่างการขนย้าย
ติดเครื่องหมายเตือน เช่น เครื่องหมายสินค้าอันตราย
พร้อมทั้งจัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด
4.
สินค้าอันตราย หมายถึง สารที่มีคุณสมบัติเฉพาะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้
เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม ถ่านหิน กรดกำมถัน เป็นต้น
5.
ประเภทลักษณะของสินค้าอันตราย
เพื่อให้การบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยงดังกล่าวได้ง่ายและสะดวก
สหประชาชาติจึงได้จัดแบ่งสินค้าอันตรายออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ 9 ประเภทหลักด้วยกัน
ได้แก่
ประเภทที่
1 สารและสิ่งของวัตถุระเบิด
ประเภทที่
2 ก๊าซ
ประเภทที่
3 ของเหลวไวไฟ
ประเภทที่
4 ของแข็งไวไฟ สารที่เสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง และสารที่สัมผัสน้ำให้ก๊าซไวไฟ
ประเภทที่
5 สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
ประเภทที่
6 สารพิษและสารติดเชื้อ
ประเภทที่
7 วัสดุกัมมันตรังสี
ประเภทที่
8 สารกัดกร่อน
ประเภทที่
9 สารและสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด
6.
ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนด หมายถึง
ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน
ไม่ระบุ
ไม่ระบุ
18.1 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2. แบบประเมินผลโดยวิธีการสาธิตการปฏิบัติงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2. แบบประเมินผลโดยวิธีการสาธิตการปฏิบัติงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2. แบบประเมินผลโดยวิธีการสาธิตการปฏิบัติงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน