สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาอุตสาหกรรมอาหาร
FPC-FID-5-005ZA
จัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร
u -
✔
นักวิทยาศาสตร์อาหาร
(ด้านความปลอดภัยอาหาร)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการจำแนกสิ่งปนเปื้อนและสารก่อภูมิแพ้ในวัตถุดิบ
บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
รวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร
เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารและทบทวนให้เป็นปัจจุบัน (Procedure) และควบคุมเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร
หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือ
สามารถใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง
5
อุตสาหกรรมอาหาร
ไม่มี
51010101 จำแนกสิ่งปนเปื้อนและสารก่อภูมิแพ้ในวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
-จำแนกสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ในวัตถุดิบ
-จำแนกสิ่งที่จะปนเปื้อนจากวัตถุดิบที่สามารถพบ
-จำแนกสิ่งที่จะปนเปื้อนระหว่างขั้นตอนการผลิตที่สามารถพบ
-จำแนกสิ่งที่จะปนเปื้อนในขั้นตอนการเก็บรักษาและการขนส่ง
51010102 รวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร
-รวบรวมข้อมูลด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
-รวบรวมข้อมูลทั่วไปที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยอาหาร
-รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบข้อบังคับกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในประเทศและประเทศคู่ค้า
51010103 เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารและทบทวนให้เป็นปัจจุบัน (Procedure)
-กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและมีประสิทธิผล
-ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมายที่กำหนด
-ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารให้เป็นปัจจุบัน
51010104 ควบคุมเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร
-จัดเก็บหรือทำลายเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร
-ทวนสอบเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารให้เป็นปัจจุบัน
-ระบุรายการเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร
ความรู้และทักษะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารสากล
และระบบวิเคราะห์อันตรายและ จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร
รวมถึงติดตามผลการดำเนินงานและฝึกอบรม
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
-
ทักษะการสืบค้นข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ
-
ทักษะการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารและทบทวนให้เป็นปัจจุบัน (Procedure)
-
ทักษะในการระบุ ทวนสอบ
จัดเก็บหรือทำลายเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร
(ข) ความต้องการด้านความรู้
-
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรายการสารก่อภูมิแพ้ของประเทศไทยและประเทศคู่ค้า
-
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายอาหารและการแสดงฉลาก
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน
(Performance
Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and
Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
ไม่มี
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ไม่มี
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
สามารถศึกษาได้ในคู่มือการประเมิน
วิธีการประเมิน
ใช้ผลการทดสอบการขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร
สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (CFoP) หมวดวิชา การประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร
หมายเหตุ:
ในการสอบแต่ละครั้งจะมีการเปลี่ยนข้อสอบทุกครั้ง
โดยจะไม่นำข้อสอบในแต่ละครั้งมาใช้ซ้ำ
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ
หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี
ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
ไม่มี
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
-
จำแนกสิ่งปนเปื้อนในวัตถุดิบหลัก ส่วนผสม และบรรจุภัณฑ์ รวมถึงขั้นตอนการผลิต
การเก็บรักษา และการขนส่ง
-
รายการสารก่อภูมิแพ้ให้กำหนดตามประกาศของประเทศไทยและประเทศคู่ค้า
-
กฎหมายอาหารที่เกี่ยวกับสถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ และการแสดงฉลาก
ทั้งของประเทศไทยและประเทศคู่ค้า
-
ข้อมูลทั่วไป หมายถึง ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
-
ขั้นตอนการปฏิบัติงานว่าด้วยหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เช่น GMP, HACCP และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร
-
ถูกต้อง หมายถึง เป็นไปตามขั้นตอนวงจรคุณภาพ (PDCA) และตามหลักวิชาการ
-
ประสิทธิผล หมายถึงสอดคล้องตามหลักวิชาการ
-
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เช่น GMP, HACCP ในฝ่ายที่ตนเองรับผิดชอบ
-
ปรับปรุงข้อมูลรายชื่อผู้ครอบครองและเอกสารให้เป็นปัจจุบันตามระบบควบคุมเอกสาร (Document Control System)
ไม่มี
ไม่มี
ใช้ผลการทดสอบการขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร
สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (CFoP) หมวดวิชา การประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร