สาขาวิชาชีพศิลปะการแสดงและการบันเทิง สาขาอุตสาหกรรมภาพยนตร์
AAM-FIM-6-027ZA
ออกแบบองค์ประกอบภาพสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์
✔
อาชีพผู้กำกับภาพ (Director of Photography) ISCO 2654
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบองค์ประกอบภาพ สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ สามารถตีความบทภาพยนตร์ กำหนดองค์ประกอบภาพของซีน และถ่ายทอดองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำได้ สามารถออกแบบแสง โดยอธิบายลักษณะของแสง ทิศทางแสง รวมถึงสีของแสงที่ต้องการได้ สามารถออกแบบซีน โดยออกแบบขนาดภาพ มุมภาพ การเคลื่อนกล้อง และตำแหน่งในการแสดงได้ และสามารถออกแบบองค์ประกอบภาพร่วมกับแผนกที่เกี่ยวข้อง
6
2654 ผู้กำกับและผู้ผลิตภาพยนตร์ ละคร และงานสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ไม่ระบุ
ไม่ระบุ
1013201 ตีความบทภาพยนตร์เพื่อการออกแบบองค์ประกอบภาพ
1. อธิบายเรื่องราวของบทภาพยนตร์ได้ถูกต้องครบถ้วนตามบทที่จะทำการถ่ายทำ
2. กำหนดองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำได้เป็นไปตามบทภาพยนตร์ที่กำหนด
3. ถ่ายทอดองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนกได้ถูกต้องครบถ้วนตามภาพที่ออกแบบไว้
1013202 ออกแบบแสงของภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์
1. อธิบายลักษณะแสงในภาพของซีนที่จะถ่ายทำได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
2. ออกแบบลักษณะแสงได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
3. ออกแบบทิศทางแสงได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
4. ออกแบบสีของแสงได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
1013203 ออกแบบภาพของซีนในการถ่ายทำภาพยนตร์
1. ระบุขนาด และมุมภาพของซีนที่จะถ่ายทำได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
2. ออกแบบขนาดภาพได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
3. ออกแบบมุมภาพได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
4. ออกแบบการเคลื่อนไหวของกล้องได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
5. ออกแบบตำแหน่งในการแสดงได้ตามภาพที่ผู้กำกับกำหนด
1013204 ออกแบบองค์ประกอบภาพร่วมกับแผนกที่เกี่ยวข้อง
1. ถ่ายทอดองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำให้แผนกที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามภาพที่ออกแบบไว้
2. ระบุ Mood and Tone ในองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำให้แผนกที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
3. ระบุตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์ประกอบฉากในองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำให้แผนกที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
4. ระบุลักษณะของฉากในองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำให้แผนกที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องเป็นไปตามบทภาพยนตร์
ความรู้เกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
1. ทักษะทางการตีความบทภาพยนตร์
2. ทักษะด้านการถ่ายทอดองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำให้เป็นไปตามบทภาพยนตร์ที่กำหนด
(ข) ความต้องการด้านความรู้
1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบแสงของภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์
2. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์
3.ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบองค์ประกอบภาพ
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง
2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1.เอกสารรับรองผลการศึกษา หรือผลการอบรม
2.เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบองค์ประกอบภาพ สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลัก ฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
(ก) คำแนะนำ
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่าน พูด และเขียนศัพท์เฉพาะทางในแผนกกล้องได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการออกแบบภาพ แสง องค์ประกอบภาพตามบทภาพยนตร์ และถ่ายทอดองค์ประกอบภาพของซีนที่จะถ่ายทำ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ตำแหน่งในการแสดง หมายถึง ทิศทางการแสดง (Screen Direction) ของนักแสดง หรือจุดการแสดง (Blocking) เป็นต้น
ไม่ระบุ
ไม่ระบุ
18.1 เครื่องมือประเมิน 1) แบบทดสอบข้อเขียน 2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน 18.2 เครื่องมือประเมิน 1) แบบทดสอบข้อเขียน 2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน 18.3 เครื่องมือประเมิน 1) แบบทดสอบข้อเขียน 2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน