สาขาวิชาชีพศิลปะการแสดงและการบันเทิง สาขาอุตสาหกรรมภาพยนตร์
AAM-FIM-5-042ZA
กำหนดแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องใต้น้ำ
✔
อาชีพช่างภาพใต้น้ำ (Underwater Camera Operators) ISCO 2654
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้ ความสามารถในการวางแผนการทำงานใต้น้ำร่วมกับผู้กำกับภาพ, ผู้ช่วยช่างภาพใต้น้ำ, ผู้ช่วยผู้กำกับ และทีมงานแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถถ่ายทอดแผนกงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องใต้น้ำได้
5
2654 ผู้กำกับและผู้ผลิตภาพยนตร์ ละคร และงานสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ไม่ระบุ
ไม่ระบุ
1014701 วางแผนการทำงานใต้น้ำร่วมกับผู้กำกับภาพ, ผู้ช่วยช่างภาพใต้น้ำ, ผู้ช่วยผู้กำกับ และทีมงานแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสำหรับการทำงานของแผนกกล้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักการทำงานเพื่อความปลอดภัยที่กองถ่ายทำกำหนด
2. ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักการทำงานเพื่อความปลอดภัยที่กองถ่ายทำกำหนด
3. กำหนดแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องใต้น้ำได้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักการทำงานเพื่อความปลอดภัยที่กองถ่ายทำกำหนด
1014702 ถ่ายทอดแผนกงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องใต้น้ำ
1. ระบุแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามแผนที่กองถ่ายทำกำหนด
2. ชี้แจงแผนการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามแผนที่กองถ่ายทำกำหนด
ความรู้ และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
1. ทักษะการควบคุมกล้องใต้น้ำในการถ่ายทำภาพยนตร์
2. ทักษะการดำเนินการถ่ายภาพด้วยกล้องใต้น้ำ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
1. ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเครื่องมือ และอุปกรณ์ในแผนกกล้อง (Camera) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะกระแสน้ำ, น้ำขึ้นน้ำลง, คลื่น
3. ความรู้ด้านฟิสิกส์ของแสงใต้น้ำ
3.1. จำแนกลักษณะของแสงใต้น้ำได้ถูกต้องตามทฤษฎีพื้นฐานทางภาพยนตร์
3.2. อธิบายทิศทางของแสงใต้น้ำได้ถูกต้องตามทฤษฎีพื้นฐานทางภาพยนตร์
3.3. จำแนก และอธิบายลักษณะของการหักเหของแสง, การดูดกลืนสี และแสงใต้น้ำได้ถูกต้องตามทฤษฎีพื้นฐานทางภาพยนตร์
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง
2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. เอกสารรับรองผลการศึกษา หรือผลการอบรม
2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้ประเมินตรวจประเมิน การกำหนดแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องใต้น้ำ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
(ก) คำแนะนำ
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการอ่าน พูดและเขียนศัพท์เฉพาะทางของกล้องและอุปกรณ์ใต้น้ำทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินสำหรับการทำงานของแผนกกล้องใต้น้ำ รวมถึงวางแผน และชี้แจงแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของแผนกกล้องใต้น้ำ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ทีมงานแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ได้แก่ แผนกกล้อง แผนกไฟ แผนกกริป แผนกริก แผนกเสียง เป็นต้น
ไม่ระบุ
ไม่ระบุ
18.1 เครื่องมือประเมิน 1) แบบทดสอบข้อเขียน 2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน 18.2 เครื่องมือประเมิน 1) แบบทดสอบข้อเขียน 2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน